ค้นเจอ 14 รายการ

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

เอี่ยน

หมายถึงปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).

ไหล่ถนน

หมายถึงส่วนของทางหลวงที่ติดอยู่กับทางทั้ง ๒ ข้าง.

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

กฐิน

หมายถึงผ้าที่นำไปถอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนเรียกผ้ากฐินกฐินมี ๒ ชนิดคือ จุลกฐินและมหากฐิน กฐินที่ทำให้สำเร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นด้าย ทอ เย็บ ย้อมเป็นต้นเรียกจุลกฐินกฐินแล่นก็เรียก กฐินที่ใช้เวลานานและจัดเตรียมบริขารบริวารถวายพระได้มากเรียกมหากฐิน.

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

กรรมฐาน

หมายถึงที่ตั้งแห่งการงาน มี ๒ คือ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานได้แก่อุบายสงบใจ วิปัสสนากรรมฐานอุบายเรื่องปัญญา.

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

กฎกรรม

หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ