ค้นเจอ 16 รายการ

ไถเผือ

หมายถึงข้า ทาส อย่างว่า กับทังบริวารพร้อมไถเผือพอหมื่น (ฮุ่ง).

ไถล

หมายถึงไถไป.

ไถ

หมายถึงเครื่องมือทำนาชนิดหนึ่ง เรียก ไถ การไถมีไถฮุดและไถด้น อย่างว่า เดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ (ภาษิต).

ไถ่

หมายถึง1.)ถอน คืน ถอนทาสให้เป็นไทเรียก ไถ่ทาส 2.)เปลี่ยน แก้ไข นุ่งผ้าผืนใหม่เรียก ไถ่ผ้า

ไถง

หมายถึงตะวัน วัน (ข.) เช่น ไถงนี้ คือ วันนี้.

ไถน

หมายถึงระแวง สงสัย อย่างว่า อันจักนิราศห้องฮามฮ้างอย่าไถน (ฮุ่ง).

กสิกรรม

หมายถึงการทำไร่ไถนา.

แก่นเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง เจ้าเมืองเรียก แก่นเมือง อย่างว่า เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).

ไฉน

หมายถึง- ไม่แน่ใจ สงสัย ไถน ก็ว่า - ฉันใด

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

เกษตรกรรม

หมายถึงการทำไร่ไถนาปลูกพืชผักเลี้ยงสัตว์ การประมง การป่าไม้ (ส.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ