ค้นเจอ 37 รายการ

เก้กเซก

หมายถึงลักษณะใบหน้าที่บางและผอมแก้มตอบ

แมงอีนูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงจินูน ก็เรียก

ดั้ว(งาม)

หมายถึงใบเขียวงาม

กก

หมายถึงต้นไม้ ต้นไม้เรียก กกไม้ เช่น กกมี้ กกม่วง กกยม กกยอ กกเดื่อ อย่างว่า กกบ่เตื้องตีงตายตั้งแต่ง่า ง่าบ่เหลื้องมาเตื้องตั้งแต่ใบ (บ.)

กนโก

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งใบอ่อนใช้เป็นผักกินได้ ก้นโก ก็ว่า อย่างว่า เฮี้ยมนี้เป็นดั่งตาลปลายด้วนกนโกอยู่กลางท่งฮากบ่เหลือเครือบ่เกี้ยวโทนโท้อยู่แต่ลำคันเครือขิกบ่มาเกี้ยวใบ เครือหวายบ่มาเกี้ยวก้าน ตาลต้นส่วนอยู่พลอย แท้แล้ว(ผญา).

ก้นโดก

หมายถึง1.)นกโพระดก ชื่อนกชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกหลายอย่าง เรียก นกก้นโดก โกนโดก กะโดก โพนโดก 2.)ชื่อพรรณไม้เล็กชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงศอกเศษ ใบใช้กินเป็นผักได้ เรียก ผักก้นโดก ผักกะโดก ก็เรียก.

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

กระโดง

หมายถึงใบเรือ

ขี้เฮอะ

หมายถึงสวะที่ลอยอยู่ตามน้ำ หรือติดอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ เรียก ขี้เฮอะ อย่างว่า อย่าเตาะเฮอะใส่หัว (ภาษิต).

แมงจินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

ก่าย

หมายถึงคัด, ลอก การเอาเหล็กจารเขียนหนังสือในใบลาน เรียก ก่ายหนังสือ.

ขี้เหน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบมีกลิ่นเหม็น ผลเมื่อสุกสีช้ำมีรสหวาน รากใช้ทำยาได้ เรียก ต้นขี้เหน.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ