ค้นเจอ 23 รายการ

ก้อม

หมายถึงสั้น, ไม่ยาว, เตี้ย, หด

คาดลาด

หมายถึงเป็นคำขยายใช้กับอะไรที่มันยาวกว่าสิ่งอื่น ,โผล่ หรือล้ำออกมา

ไกล

หมายถึงห่าง, ไม่ใกล้, ยาว อยู่ห่างกันเรียก ไกลกัน อย่างว่า หมากส้มนับมื้อไกลเกลือ หัวเฮือนับมื้อไกลฝั่ง ดอกสะมั่งนับมื้อไกลจากต้น ดมแล้วกลิ่นบ่หอม (กลอน) นับมื้อไกลกันแล้วหัวอินทร์เสด็จจาก หน้าผากไกลกระด้นคราวมื้อกูกบ่เห็น (หน้าผาก).

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

แส่ว

หมายถึง1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี

หมัน

หมายถึงเชือกหรือผ้าเศษที่ชุบน้ำมันยางสำหรับอุดรูรั่วของเรือที่แตกเป็นแนวยาวและกว้างเรียก ตอกหมันเฮือ.

ฮอดฮ้อย

หมายถึงถึงจำนวนร้อย เรียก ฮอดฮ้อย อย่างว่า เมื่อนั้นตนประเสริฐท้าวธรงเดชลือฤทธิ์ ทวนเชษฐาไต่ทางนำน้อง คอยเห็นซวงหลวงพ้นฮังฮามหลายหลาก ยาวฮอดฮ้อยประมาณเส้นเชือกงัว (สังข์).

อาดหลาด

หมายถึงใช้ในการขยายคำให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งหมาย ถึง ยาว , สูงใหญ่ , ยาวใหญ่

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

โล้งโค้ง

หมายถึงเขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน

โก่โด่

หมายถึงลักษณะของสิ่งของที่ยาวยื่นออกมา

กระป่อม (ตักน้ำ)

หมายถึงภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ รูปยาวก้นแหลม ทาด้วยชันคล้ายก้นคุ ใช้เชือกหย่อนลงตักน้ำในบ่อลึก

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ