ค้นเจอ 16 รายการ

ขี้ยาง

หมายถึงน้ำมันยาง น้ำมันที่เกิดจากต้นยางหรือต้นไม้อื่น นิยมเรียก ขี้ยาง ขี้ยางนี้เอามาผสมกันขอนดอกทำเป็นกะไต้หรือกระบอง สำหรับจุดไฟให้เกิดแสงสว่าง.

แมงอีนูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงจินูน ก็เรียก

ยางกิ๊นกิน

หมายถึงอากัปกิริยาการเดินมุ่งตรงและเร่งด่วน

ขี้ชี

หมายถึงชัน ชันเรียก ขี้ชี ยางไม้จิกไม้ฮังที่ห้อยแขวนอยู่ตามต้นหรือกิ่ง เรียก ขี้ชี เอายางนี้มาป่นให้ละเอียดผสมน้ำมันยาง ทาคุ ทาอุแอ่งที่แตก ทาเรือที่แตกหรือรั่ว.

ไตรยางค์

หมายถึงอักษรสามหมู่คือ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ.

หมัน

หมายถึงเชือกหรือผ้าเศษที่ชุบน้ำมันยางสำหรับอุดรูรั่วของเรือที่แตกเป็นแนวยาวและกว้างเรียก ตอกหมันเฮือ.

แมงจินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

ขี้โค้

หมายถึงยางของต้นพลวง

ผักติ้ว

หมายถึงจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้มมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ

ไข่เน่า

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่ดอกสีเหลือง นำมาเคี่ยวเป็นยางเหนียว เรียก ต้นไข่เน่า ต้นยางมอก ก็ว่า.

ขี่กระบอง,ขี้ใต้

หมายถึงไม้ผุผสมกับน้ำมันยางธรรมชาติใช้จุดไฟแทนตะเกียงน้ำมัน

ขี้เล้

หมายถึงน้ำมันที่ตกตะกอนขุ่นข้น เกิดจากน้ำมันยางหรือน้ำมันอย่างอื่น เรียก น้ำมันขี้เล้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ