ค้นเจอ 13 รายการ

อสุภกรรมฐาน

หมายถึงกรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งาม ความไม่เที่ยงแท้ของสังขารเป็นอารมณ์ (ป.).

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึงกรรมฐานที่ให้พิจารณาส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีหนังเป็นที่ 5.

กรรมฐาน

หมายถึงที่ตั้งแห่งการงาน มี ๒ คือ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานได้แก่อุบายสงบใจ วิปัสสนากรรมฐานอุบายเรื่องปัญญา.

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง

แก่น (คุ้นเคย)

หมายถึงอยู่เป็นที่,อยู่อย่างปักหลักปักฐาน,อยู่ติดบ้าน,คุ้นเคย

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

กฎ (จด)

หมายถึงจด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).

กฎมนเทียรบาล

หมายถึงข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐานและพระราชวงศ์.

กระจอก

หมายถึงชื่อนกตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ชอบทำรังตามหลังคาเรือน เรียก นกกระจอก ก็ว่า อย่างว่า อุมลัวฮุ้งกาในแกกะออก จอกก่างกี้เจียผ้ายกะแดบดิน (สังข์). เศษ, เหลือ สิ่งของที่เหลือใช้เล็กๆ น้อยๆ เรียก กระจอก หรือ คนที่มีฐานะต่ำเรียก คนกระจอก. เขยก (ข. ขจอก) เรียก ม้าขาเขยก ว่า ม้ากระจอก.

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ