ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ห (หน้าที่ 2)

  1. ไหมคอ
    หมายถึง เส้นไหมที่ละเอียด ไม่มีขี้ติดเหมาะที่จะใช้ทอได้ทันที เรียก ไหมคอ.
  2. ไหมคำ
    หมายถึง เส้นไหมที่ควบด้วยทองแล่ง มีสีเหมือนทองคำ เรียก ไหมคำ ไหมคำนี้ใช้ปักหมอนสามเหลี่ยม หมอนพิง.
  3. ไหม้
    หมายถึง เผา ลุก ติดเชื้อ เช่น ไฟเผาเรือน เรียก ไฟไหม้เฮือน อย่างว่า ไฟบ่ไหม้เฮือนใผกะพออยู่ (ภาษิต).
  4. ไหย้
    หมายถึง บังเหียน บังเหียนที่ใช้สวมปากม้าเวลาขี่ เรียก ไหย้ม้า บังเหียน หมากเหียน ก็ว่า.
  5. ไหล
    หมายถึง 1.)ชื่อพืชชนิดหนึ่ง ลำต้นกลมเล็กและยาว เรียก หญ้าไหล ใช้สำหรับทอเสื่อ ทอเสื่อคือต่ำสาด. 2.)เคลื่อนไปอย่างของเหลว เช่น น้ำ เรียก ไหล อย่างว่า เมื่อนั้นกุมภัณฑ์น้าวถนอมนางในอาสน์ คือคู่ไฟพ่างเผิ้งผายใกล้ล่ามไหล แท้แล้ว (สังข์).
  6. ไหลหลั่ง
    หมายถึง ไปพร้อมกันเป็นแถวเป็นแนว เช่น ไปแห่นาค แห่กองบวช แห่กองหด อย่างว่า ยาบยาบย้ายเจียระจากนครหลวง พลายพังเสินย่างเชิงซำย้อง กลายกงชั้นเชียงหลวงไหลหลั่ง ฝูงไพร่พร้อมหิวไห้ฮุ่งหา (สังข์).
  7. ไหล่
    หมายถึง ส่วนของบ่าที่ติดกับต้นแขน เรียก ไหล่.
  8. ไหล่ถนน
    หมายถึง ส่วนของทางหลวงที่ติดอยู่กับทางทั้ง ๒ ข้าง.
  9. ไหล่ทวีป
    หมายถึง บริเวณใต้น้ำทะเลรอบๆ ทวีป ซึ่งมีความลาดเอียงน้อยๆ แผ่ยื่นออกไปจากฝั่งทะเล นับจากแนวน้ำลงต่ำสุดลงไป เรียก ไหล่ทวีป.
  10. ไหล่เขา
    หมายถึง ส่วนของเขาที่ถัดยอดเขาลงมาเรียก ไหล่เขา.
  11. ไหว
    หมายถึง สั่น สะเทือน ไหวติง.
  12. ไหว้
    หมายถึง ทำความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม.
  13. ไหว้ครู
    หมายถึง ทำพิธีไหว้ครูบาอาจารย์.
  14. ไหว้บรรพบุรุษ
    หมายถึง ทำการไหว้บรรพบุรุษ บรรพบุรุษคือผู้เป็นต้นตระกูลของเรา คือ ทวด ปู่ย่าตายาย พ่อและแม่ การไหว้บรรพบุรุษคือไหว้สายเลือดของเรา เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เรา.
  15. ไหว้ผี
    หมายถึง พิธีไหว้ผี ผีที่นับถือซึ่งอยู่ตามป่าดงพงไพร ห้วยหนองคลองบึง ซึ่งถือว่าเป็นผู้รักษาสถานที่เหล่านั้น.
  16. ไหว้พ่อแม่
    หมายถึง ทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.
  17. ไหว้วาน
    หมายถึง ขอร้องให้ช่วยงาน เรียก ไหว้วาน ประเพณีอีสาน เวลามีความจำเป็นจะไปไหว้วานญาติพี่น้องให้มาช่วยงาน เช่น ปลูกเฮือน ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว หาบข้าว ตำข้าว และช่วยในงานการกุศลต่างๆ โดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารตามธรรมเนียม.
  18. ไหว้เจ้า
    หมายถึง ทำพิธีเซ่นเจ้าตามธรรมเนียมจีน.
  19. ไหเหล้า
    หมายถึง ไหสำหรับใส่เหล้า ไหซอง ก็ว่า อย่างว่า ให้แต่งตั้งเฝือนภาชพาคาว มธุรังเลียนแต่งดีดาตั้ง เฮืองเฮืองใต้เต็มฮาวเทียนธูป น้ำหล่อเหล้าไหต้นแต่งหมาย (สังข์).
  20. ไหแค
    หมายถึง ไหสำหรับใส่เหล้าโท เรียก ไหแค อย่างว่า ปุนกันฟายไหแคเปลี่ยนกันกินเมี้ยน (ฮุ่ง).
  21. ไหไพ
    หมายถึง ไหที่ใหญ่ ปากกว้าง ก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำอ้อยงบ ใส่เกลือเก็บไว้กินได้เป็นปีๆ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ห (หน้าที่ 2)"