ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ข (หน้าที่ 2)

  1. ขี้ล่าย,ขี้ฮ้าย
    หมายถึง ขีเหร่,ดูไม่ดี ไม่น่าดู มีความหมายเดียวกับคำว่า ผู้ฮ้าย
  2. ขี้สีก
    หมายถึง น้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก น้ำขี้สีกนี้หมอยาโบราณถือว่าเป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ ถ้าคนป่วยเป็นไข้ออกหมึก ออกซาง ไข้หมากไม้ใหญ่ หมอจะไปเอาน้ำนี้มาฝนใส่ยา แก้ไข้ดีนักแล.
  3. ขี้สูด
    หมายถึง รังของแมลงจำพวกแมงน้อย แมงน้อยนี้ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือตามโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวานปั้นเอาน้ำหวานออก เรียก ขี้สูดแมงน้อย แมงน้อยไม่มีเหล็กไน ต่อยคนไม่เป็น.
  4. ขี้หนอน
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ใบใช้กันหนอน รากใช้ทำยา เอาใบมาวางไว้ปากไห กันหนอนได้ดีนักแล เพราะใบนี้กันหนอนได้ คนโบราณจึงเรียก ใบขี้หนอน.
  5. ขี้หนู
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ขนาดกลางชนิดหนึ่ง ใบคล้ายใบมะเกลือ ผลเล็กและป้อมเหมือนขี้หนู เมื่อดิบมีรสฝาดเล็กน้อย, ชื่อพริกชนิดหนึ่ง เรียก พริกขี้หนู, และชื่อขนมชนิดหนึ่งเรียก ขนมขี้หนู.
  6. ขี้หลี้
    หมายถึง มาก ดำขี้หลี เรียก ดำมากหรือดำปีด อย่างว่า เห็นว่าขี้หลี้อย่าฟ้าวขี่เฮือกลาย เห็นว่าดำขอยลอยอย่าฟ้าวพายเฮือเว้น (กลอน).
  7. ขี้หิด
    หมายถึง โรคหิด ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นตัวขาวๆ ไชอยู่ใต้ผิวหนัง เรียก ขี้หิด มี ๒ ชนิด คือ ขี้หิดด้านและขี้หิดเปื่อย.
  8. ขี้หินแฮ
    หมายถึง หินลูกรัง
  9. ขี้หูด
    หมายถึง ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นไตแข็ง คนที่เป็นโรคผิวหนังจะเป็นตะปุมตะป่ำเรียก ขี้หูด.
  10. ขี้อ่ง
    หมายถึง หยิ่ง,คนถือตัว,มาดเยอะ,หยิ่งทะนงตน
  11. ขี้ฮ้าย
    หมายถึง ขี้เหร่, หน้าเกลียด
  12. ขี้เกี้ยม
    หมายถึง จิ้งจก
  13. ขี้เขิบ
    หมายถึง ดินโคลนตามหนองและทุ่งนาซึ่งแตกระแหง เรียก ขี้เขิบ ขี้เหิบ ก็ว่า.
  14. ขี้เข็บ
    หมายถึง ตะขาบ
  15. ขี้เจีย
    หมายถึง ดินประสิว เรียก ขี้เจีย เหตุที่ได้ชื่อว่า ขี้เจีย เพราะผู้ทำขี้เจียนี้เขาเอาขี้เจีย คือขี้ค้างคาวมาต้มเกลือสินเธาว์ จึงเรียกชื่อว่าขี้เจีย เขาเอาขี้เจียมาทำเป็นบั้งไฟพลุบั้งไฟตะไล บั้งไฟโบด บั้งไฟจินาย บั้งไฟอีตื้อ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน.
  16. ขี้เจียม
    หมายถึง จิ้งจก จิ้งจกเรียก ขี้เจี้ยม ขี้เกี้ยม ก็ว่า อย่างว่า เสียงกานั้นนางมาเวียนว่า น้อยหนึ่งตาพระบาทเจ้าจอมซ้อยเสม่นเนือง มีทังภุมราเกี้ยวกันลงซ้องพระเนตร เจี้ยมไต่เต้นโตนต้องบ่าขวา (สังข์).
  17. ขี้เดียด
    หมายถึง ขยะแขยง,รังเกียจ ,ไม่ชอบ
  18. ขี้เมี่ยง,ขี่เหมี่ยง
    หมายถึง สนิม
  19. ขี้เล้
    หมายถึง น้ำมันที่ตกตะกอนขุ่นข้น เกิดจากน้ำมันยางหรือน้ำมันอย่างอื่น เรียก น้ำมันขี้เล้.
  20. ขี้เหงี่ย,ขี้เงียงเหงี่ย,ขี้ไงเงี่ย
    หมายถึง ผงหรือฝุ่น(ละอองเล็กๆ)
  21. ขี้เหน
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบมีกลิ่นเหม็น ผลเมื่อสุกสีช้ำมีรสหวาน รากใช้ทำยาได้ เรียก ต้นขี้เหน.
  22. ขี้เหมี้ยง
    หมายถึง สนิม สนิมที่จับเหล็กทุกชนิดเรียก ขี้เหมี้ยง มีดที่ขี้เหมี้ยงกินเรียกว่า มีดเข้าขี้เมี่ยง.
  23. ขี้เหล็กบ้าน
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กบ้าน ใบอ่อนใช้แกงกินเป็นอาหารอร่อยนักแล.
  24. ขี้เหล็กป่า
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กป่า ขนาดเท่าขี้เหล็กบ้านแต่ใบใหญ่กว่า ใช้ทำยาแก้ไข้ได้ดี.
  25. ขี้เหล็กสาร
    หมายถึง แสมสาร ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ขี้เหล็กสาร ใบใหญ่ ใช้ทำยาได้.
  26. ขี้เหล็กใหญ่
    หมายถึง ชุมเห็ด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ขี้เหล็กใหญ่ ใช้ทำยา.
  27. ขี้เฮอะ
    หมายถึง สวะที่ลอยอยู่ตามน้ำ หรือติดอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ เรียก ขี้เฮอะ อย่างว่า อย่าเตาะเฮอะใส่หัว (ภาษิต).
  28. ขี้เฮี่ย
    หมายถึง ชื่อปลาชนิดหนึ่ง คล้ายปลาแขยงปักปวดมากจนขี้เรี่ยราด เรียก ปลาขี้เฮี่ย.
  29. ขี้แบ้
    หมายถึง บัวผัน บัวผันเรียก บัวขี้แบ้ อี่แบ้ ก็ว่า บัวชนิดนี้มักเกิดตามหนอง อย่างว่า บัวขี้แบ้มาเกิดกลางหนอง บัวทองมาเกิดก้ำหัวสวนบ้านเก่า ที่เลิ๊กมาแล่นตื้นชิไปห้งบ่อนเขิน (ปัสเสน).
  30. ขี้แมงวัน
    หมายถึง ขี้แมลงวัน จุดหรือเม็ดเล็กๆ สีดำหรือแดงที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง เรียก ขี้แมงวัน ไฝ ก็ว่า.
  31. ขี้แมงหยอด
    หมายถึง รังหมาร่า.
  32. ขี้โกะ
    หมายถึง จิ้งเหลน จิ้งเหลนเรียก ขี้โกะ ขี้โก๋ ก็ว่า.
  33. ขี้โก๊ะ
    หมายถึง จิ้งเหลน, จิ๊กโก๋
  34. ขี้โก๋
    หมายถึง จิ้งเหลน
  35. ขี้โค้
    หมายถึง ยางของต้นพลวง
  36. ขี้โผ่น,ขี้โผ่
    หมายถึง พุง,ท้อง
  37. ขี้โผ้
    หมายถึง พุงโร คนที่มีแขนขาเล็ก แต่พุงโต เรียกคนขี้โผ้ อีกอย่างหนึ่งคนที่กินข้าวน้อยแต่กินกับมาก เรึยก คนกินโผ้ ขี้โผ้ ก็ว่า.
  38. ขี้โพ่
    หมายถึง หนทางที่เป็นโคลน มีน้ำขังเป็นแอ่ง วัวควายขี้เยี่ยวใส่ทำให้น้ำเน่าเสีย ที่เช่นนี้เรียก ขี้โพ่ ขี้ตมโพ่ ก็ว่า.
  39. ขี้โพ่น
    หมายถึง อาหารที่กระเพาะของสัตว์ เรียก ขี้โพ่น.
  40. ขี้โม้
    หมายถึง คุดทะลาด คุดทะลาด เรียก ขี้โม้ มี 2 ชนิด คือ ชนิดแห้งและชนิดเปื่อย.
  41. ขี้โยย,ขี่ไห้
    หมายถึง สำออย
  42. ขี้ไก่ขาง
    หมายถึง ไข่แมลงวัน
  43. ขี้ไก่นวด
    หมายถึง ขี้ไก่สีน้ำตาลเหม็นมาก
  44. ขี้ไก่เดือน
    หมายถึง ไส้เดือน ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ชอบกินดินเป็นอาหาร แต่ไม่กินมากเพราะมันกลัวดินจะหมด เรียก ขี้ไก่เดือน ขี้กะเดียน ก็ว่า.
  45. ขี้ไก่โป่
    หมายถึง ขี้ไก่ก้อนใหญ่
  46. ขี้ไหง่
    หมายถึง ฝุ่น, ฝุ่นตลบ
  47. ขึงปีก
    หมายถึง กางปีก
  48. ขื่อเมือง
    หมายถึง โยธาทหารผู้แกร่งกล้าเป็นรั่วรักษาประเทศชาติ เรียก ขื่อเมือง อย่างว่า แล้วย่างย้ายเมือสู่ชองคำ พอดียนยนขุนขือเมืองมาเฝ้า ประดับแถวถ้องเสนานบนั่ง พระจิ่วแก้ข่าวให้ขุนฮู้เหตุฝัน (สังข์).
  49. ขุน
    หมายถึง ตำแหน่งขุน
  50. ขุม
    หมายถึง หลุม
  51. ขุโคบ
    หมายถึง ร่วงพรู,หล่นกราว
  52. ขุ่มหมุ่ม
    หมายถึง ลักษณะการเดินในที่มืดสลัว ๆ
  53. ขู
    หมายถึง ตกหล่น ร่วงหล่นโปรยปราย
  54. ข่วม
    หมายถึง ข้าม
  55. ข่วมหย่วย
    หมายถึง ลักษณะของอาการเต้นกระโดดข้ามไปแบบไร้ปัญหา
  56. ข่วย
    หมายถึง พาด,วางทับ
  57. ข่อง
    หมายถึง 1.ภาชนะสำหรับใส่ปลา 2. เกี่ยว หรือ สะดุด
  58. ข่อน
    หมายถึง ใกล้หมด,ใกล้เสร็จ
  59. ข่อนสิแจ้ง
    หมายถึง เวลาใกล้รุ่ง,ใกล้สว่าง,ใกล้ฟ้าสาง
  60. ข่อย
    หมายถึง ฉัน , ผม , ดิฉัน , กระผม
  61. ข่อย
    หมายถึง ฉัน
  62. ข่อยกับเจ้า
    หมายถึง ฉันกับเธอ
  63. ข่อยมักเจ้า
    หมายถึง ฉันรักคุณ ผมรักคุณ
  64. ข่อหล่อแข่แหล่
    หมายถึง เล็กๆน้อยๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน
  65. ข่า
    หมายถึง คนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า
  66. ข้องลอย
    หมายถึง เป็นพาชนะใส่ปลาจักสานด้วยไม้ไผ่มีรูปร่างคล้ายๆเป็ด
  67. ข้อหล้อ
    หมายถึง สั้นนิดเดียว เรียก สั้นข้อหล้อ อย่างว่า สั้นข้อหล้อมือยื้อบ่เถิง สูงเจวเววชั่วสามวาฮิ้น (ภาษา).
  68. ข้าวก่ำ
    หมายถึง ข้าวเหนียวดำ
  69. ข้าวของ
    หมายถึง ทรัพย์สิน, ของใช้
  70. ข้าวคั่ว
    หมายถึง ข้าวสาร (ส่วนมากจะใช้ข้าวเหนียว) ที่นำไปคั่วจนสุก แล้วนำมาตำจนละเอียด
  71. ข้าวคั่ว
    หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียวที่แห้ง นำไปคั่วจนสุกกรอบ แล้วนำไปบด
  72. ข้าวดอ
    หมายถึง เป็นข้าวสายพันธ์หนึ่ง อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวเหนียว
  73. ข้าวต้มแดก
    หมายถึง เป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น
  74. ข้าวปาด
    หมายถึง ขนมโบราณชนิดหนึ่ง คล้ายขนมเปียกปูน แต่ค่อนข้างเหนียวกว่ามาก ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นขนมชนิดนี้แล้ว แต่ก็ยังใช้คำว่า ข้าวปาด ในความหมายถึง ขนมเปียกปูน
  75. ข้าวปุ้น
    หมายถึง ขนมจีน
  76. ข้าวโป่ง
    หมายถึง ข้าวเกรียบอีสาน
  77. เขญ
    หมายถึง การเลื่อน,เข็น
  78. เขย
    หมายถึง เปิด, อ้า, เผยอ, แง้ม เผย ก็เรียก
  79. เขย,ไข
    หมายถึง การแกะ,การเปิด
  80. เขาคู
    หมายถึง นกเขาขัน
  81. เขาตั๋ว
    หมายถึง เขาโกหก
  82. เขายวง
    หมายถึง White Mountain
  83. เขิง
    หมายถึง กระด้งใบเล็กๆเรียกว่า เขิง ใบใหญ่ เรียกว่า กระด้ง
  84. เขินทาง
    หมายถึง น้ำแห้ง, แห้งขอด
  85. เขี่ยน
    หมายถึง เปลี่ยน -ย้าย-หรือทำให้เป็นฝอยเส้นเล็กเส้นน้อย
  86. เขือนเมือง
    หมายถึง กำแพงเมือง
  87. เข็ดแข่ว,เข็ดแข้ว
    หมายถึง เสียวฟัน
  88. เข็นไน
    หมายถึง เข็นฝ้าย
  89. เข่าขอดหม้อ
    หมายถึง ข้าวหมดไม่มีจะกินแล้ว
  90. เข่าบ่อน
    หมายถึง เข้าห้องนอน
  91. เข้ากรรม
    หมายถึง 1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.
  92. เข้าหนมแดกงา
    หมายถึง ข้าวเหนียวนึ่งเคล้ากับงาที่คั่วสุกแล้ว ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อย เรียก เข้าหนมแดกงา.
  93. แข่
    หมายถึง จรเข้
  94. แข่งแดด,แข่งฝน
    หมายถึง ฝ่าแดด ,ฝ่าฝน
  95. แข่นอั้นตั้น
    หมายถึง ลักษณะอาการแน่น สมบูรณ์ เนื้อแน่น
  96. แข่ว
    หมายถึง ฟัน
  97. แข่วซวก
    หมายถึง ฟันเหยิน
  98. แข่วเจิง
    หมายถึง ฟันเหยิน, ฟันหน้ายื่นไปข้างหน้า
  99. แข่วแมง
    หมายถึง ฟันผุ
  100. โขโม
    หมายถึง จมูก

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ข (หน้าที่ 2)"