ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ก (หน้าที่ 4)

  1. กุด (ขา)
    หมายถึง ด้วน , ขาด
  2. กุย
    หมายถึง เหม็นสาบ
  3. กุศลกรรมบถ
    หมายถึง ทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.
  4. กุสลกรรมบถ
    หมายถึง ทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศล มีข้อความตรงกันกับกุศลกรรมบถทุกประการ.
  5. กุ่น ๆ
    หมายถึง ฝุ่นตลบ , รีบร้อน
  6. กุ้น
    หมายถึง สั้น, สั้นมาก กิ้น ก็เรียก
  7. กุ้นกุ้น
    หมายถึง อาการพุ่งพวยออกของควันไฟที่ไม่ได้มากนัก กิ้นกิ้น, กุ้มกุ้ม ก็เรียก
  8. กุ้มกุ้ม
    หมายถึง อาการพุ่งพวยออกของควันไฟที่ไม่ได้มากนัก กุ้นกุ้น, กิ้นกิ้น ก็เรียก
  9. กุ๊ดดุ๊ด
    หมายถึง สั้นมาก ๆ ๆ
  10. กู่ซู่
    หมายถึง อาการก้มหมอบตัวของผู้ใหญ่ ถ้าเป็นอาการของเด็ก เรียก ก่อซ่อ
  11. ก็
    หมายถึง ก็เป็นคำต่อหรือแต่งความให้ติดกัน โบราณเขียนจุดบอดไว้บนหัว
  12. ก่ง
    หมายถึง ทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).
  13. ก่ง (คิ้ว)
    หมายถึง โค้ง คิ้วโค้ง เรียกคิ้วก่ง เช่น คิ้วก่งกวมตา อย่างว่า ออระม่อยหน้าคิ้วก่งคันศร ขนตางอนสิ่งนางเมืองฟ้า ทันตาแข้วขาวงามปานแว่น ฮูปอ้อนแอ้นนางฟ้าก็บ่ปาน (บ.)
  14. ก่ง (เก่ง)
    หมายถึง ผู้เก่งกล้า ผู้มีความสามารถ อย่างว่า เมื่อนั้นผู้ก่งท้าวทรงเทศเป็นพระยาวางธรรมถวายผนวชไลลาไว้ บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์)
  15. ก่งด่ง
    หมายถึง อาการชี้ขึ้น เช่น วัวตื่นวิ่งไปหางจะชี้ก่งด่ง อย่างว่า งัวถือเชิงหางชี้ก่งด่ง แล่นข้วมท่งลัดป่าลัดดอน บ่ได้กินได้นอน มันกะบ่เมื่อย
  16. ก่งเกื้อ
    หมายถึง เกื้อกูล, อุดหนุน, เจือจุน อย่างว่า ขอให้คึดก่งเกื้อยามใช้ช่วงการ (กา) ขอให้น้องก่งเกื้อเยื้อนโผดกูร์ณา (สังข์)
  17. ก่งโก๊ะ
    หมายถึง อาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งเรียกก่งโก๊ะ ก่งโก้ย ก็ว่า อย่างว่า เจ้าผู้จึ๊กจิ๊จื้น ขามะเฮ็งเก้ากิ่ว สังบ่โก๊ะก้มโก้ยคลายเล่นอยู่ขี้ดินพุ้นนอ (ผญา)
  18. ก่น
    หมายถึง เจาะ, ขุด ใช้เสียมขุดดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เรียก ก่น เช่น ก่นสร้าง ก่นมัน เสาะหา, แสวงหา, ดั้นด้นตามหา
  19. ก่น
    หมายถึง เสาะหา, แสวงหา
  20. ก่น
    หมายถึง เจาะ, ขุด ใช้เสียมขุดดินให้เป็นหลุม หรือเป็นบ่อ
  21. ก่น (เจาะ)
    หมายถึง เจาะ
  22. ก่นโต่น
    หมายถึง ล่อนจ้อน คนที่ไม่นุ่งเสื้อผ้า นุ่งชุดวันเกิด เรียก ก่นโต่น หรือ ก่นต่น
  23. ก่อ
    หมายถึง สร้างขึ้น
  24. ก่อง
    หมายถึง โน้มลง , ย้อยลง
  25. ก่อง (คิ้ว)
    หมายถึง คิ้วโก่ง
  26. ก่องข้าว,กองเข่า
    หมายถึง ก่องข้าวเหนียวนึ่ง
  27. ก่องจ่อง
    หมายถึง กริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.
  28. ก่องแก่ง
    หมายถึง เดินย่องไปมาอย่างว่องไว เรียก ย่างก่องแก่ง
  29. ก่อจ่อ
    หมายถึง อาการที่เด็กนั่งห่อตัว
  30. ก่อซ่อ
    หมายถึง อาการก้มหมอบตัวของเด็ก ถ้าเป็นอาการของผู้ใหญ่ เรียก กู่ซู่
  31. ก่อด่อ
    หมายถึง อาการที่ของเล็กๆ และสั้นยื่นออกมา
  32. ก่างจ่าง
    หมายถึง อาการที่ยืนถ่างขา เรียก ยืนก่างจ่าง เดินถ่างขา เรียก ย่างก่างจ่าง อย่างว่า ถี่กัดจัดขี้ช้างกะลอดห่างก่างจ่างขี้มอดกะคา (ภาษิต).
  33. ก่าน
    หมายถึง ด่าง , มีรอยเปื้อนเป็นแห่ง ๆ, กระด่างกระดำ
  34. ก่าย
    หมายถึง คัด, ลอก การเอาเหล็กจารเขียนหนังสือในใบลาน เรียก ก่ายหนังสือ.
  35. ก่าย
    หมายถึง พาด , วางทับด้านบน
  36. ก่ำก่า
    หมายถึง ก่ำก่า หมายถึง ทำอะไรเป็นได้แค่พอทำได้ ไม่ชำนาญ หรือรู้แบบงู ๆ ปลา
  37. ก้ง
    หมายถึง กลม มน ใหญ่ เช่นผ้าตาใหญ่เรียกผ้าตาก้ง เห็ดดอกใหญ่เรียก เห็ดตาก้ง ใช้ควบกับม้งเป็นม้งก้งก็มี เช่น มืนตาม้งก้ง.
  38. ก้งตาเว็น
    หมายถึง พระอาทิตย์ทรงกลด ก้งตาเว็น เกิ้งตาเว็น กะว่า
  39. ก้น
    หมายถึง ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลำตัวเรียก ก้น.
  40. ก้น - ล่ง (กลอง)
    หมายถึง กลองยาว ชื่อกลองชิดหนึ่ง มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่นเรียก กลองก้นล่ง กลองยาว กลองตบ กลองเถิดเทิง อย่างว่า เตาะก้นล่งล่ง กลองบ้านท่งดังแท้อีหลี เปิดเบิ่งหีสาวนางบ้านใต้ เพิ่นแต่งไว้เป็นกาพย์กลอน สายสมรอาวอาแม่เถ้า (เชิ้งกลอง).
  41. ก้นกบ
    หมายถึง ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่างของคน เรียก ก้นกบ ก้นของกบก็เรียก ก้นกบ.
  42. ก้นกอกยา
    หมายถึง ก้นบุหรี่
  43. ก้นขี้
    หมายถึง ทวารหนัก ก้นดาก ก็ว่า.
  44. ก้นขี้ถั่ง
    หมายถึง ก้นกระแทก, ล้มลงก้นกระแทกกับพื้น
  45. ก้นครก
    หมายถึง ชะมดด้าว ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นก้นครก.
  46. ก้นคุ
    หมายถึง ก้นต่า, ก้นสอบ, ก้นไซ, ก้นบุง, ก้นกะติบ, ก้นแอบ, ก้นแอ่ง, ก้นอุ, ก้นหม้อ, ก้นไห สารพัดก้นซึ่งก็หมายถึงข้างล่าง หรือส่วนสุดของสิ่งเหล่านั้น.
  47. ก้นชัน
    หมายถึง พริกชี้ฟ้า ชื่อพริกชนิดหนึ่งเรียก หมากพริกน้อยก้นชัน.
  48. ก้นต่ง
    หมายถึง ก้นใหญ่, บั้นท้ายใหญ่ หรือก้นโป้ เรียก ก้นต่ง.
  49. ก้นถ้วย
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ก้นถ้วย.
  50. ก้นลีบ
    หมายถึง ก้นปอด ก้นที่เล็กและเหี่ยว เรียก ก้นลีบ.
  51. ก้นล่ง
    หมายถึง ยุงก้นปล่อง ชื่อยุ่งชนิดหนึ่งกินเลือดคนและสัตว์ไม่รู้จักอิ่ม เลือดไหลออกทางก้น เรียก ยุงก้นล่ง ก้นโล่ง ก็ว่า.
  52. ก้นฮวก
    หมายถึง ก้นเสี้ยม ก้นที่แหลมและเล็ก เรียก ก้นฮวก.
  53. ก้นเงน
    หมายถึง ก้นที่งอนออกมามาก เรียก ก้นเงน ก้นโงน ก็ว่า.
  54. ก้นแงน
    หมายถึง ก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).
  55. ก้นโกน
    หมายถึง ชื่อต้นหว้าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ก้นกลวง เมื่อสุกสีม่วงกินได้เรียก หมากหว้าก้นโกน.
  56. ก้นโดก
    หมายถึง 1.)นกโพระดก ชื่อนกชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกหลายอย่าง เรียก นกก้นโดก โกนโดก กะโดก โพนโดก 2.)ชื่อพรรณไม้เล็กชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงศอกเศษ ใบใช้กินเป็นผักได้ เรียก ผักก้นโดก ผักกะโดก ก็เรียก.
  57. ก้ม
    หมายถึง ทำให้ต่ำลงโดยอาการน้อม เช่น ก้มหัว ก้มหน้า อย่างว่า ก้มหมอบเข้าหัวเท้าง่ายาง ย่างย้งย้งหัวแทบขี้ดิน (เสียว) เสียงสั่งพร้อมพรพร่ำเนืองนัน ลัวอาหิวฮุ่งวอนแวนหม้อม ดีแก่สองขุนก้มลาลงเลยพรากขึ้นที่ม้าผันผ้ายเผ่นผยอง(สังข์).
  58. ก้วยออง, ก้วยอีออง (ผลไม้)
    หมายถึง กล้วยน้ำว้า
  59. ก้อ
    หมายถึง ม้วน ,พัน, การพันม้วนเข้าหากัน
  60. ก้อกก้อก
    หมายถึง เสียงดังอย่างนั้น เช่นเสียงที่เกิดจากการกรนของเด็กดัง ก้อกก้อก ถ้าผู้ใหญ่กรนดังโก้กโก้ก.
  61. ก้อง
    หมายถึง ใต้หรืออยู่ใต้
  62. ก้องแขน
    หมายถึง กำไล
  63. ก้อนเส่า
    หมายถึง ก้อนเส่า คือนำก้อนหิน 3 ก้อน วางไว้เพื่อตั้งหม้อทำกับข้าว หรือทำเป็นเตาไฟ
  64. ก้อม
    หมายถึง สั้น, ไม่ยาว, เตี้ย, หด
  65. ก้อย
    หมายถึง ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายลาบ
  66. ก้อยก้อยกักกัก
    หมายถึง การทำอะไรโดยไม่ตั้งใจ กลัวจะสำเร็จ ทำบ้างหยุดพักบ้าง เรียก เฮ็ดก้อยก้อยกักกัก.
  67. ก้อยๆกั้กๆ
    หมายถึง อาการของคนลังเล หรือ จะทำอะไรก็ไม่ทำ
  68. ก้าน
    หมายถึง ส่องสัตว์
  69. ก้านจอง
    หมายถึง ทับพี
  70. ก้าม
    หมายถึง ลักษณะของอาการแห้งพอหมาดๆ
  71. ก้าวหว้าว
    หมายถึง เหวอะหวะ
  72. ก้ำ
    หมายถึง แห่งหน,ฝ่ายพวก,พวก
  73. ก๊กก๊ก
    หมายถึง มีเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงเคาะไม้
  74. ก๊งโก๋ะ
    หมายถึง อาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊งโก๋ะก๊งโก้ย ก๊มโก๋ะ ก็เรียก
  75. ก๊มโก๋ะ
    หมายถึง อาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊มโก๋ะก๊มโก้ย ก๊งโก๋ะ ก็เรียก
  76. ก๋อ
    หมายถึง เกี่ยว , เกาะเกี่ยว
  77. เกกลางกาด
    หมายถึง หญิงโสเภณี
  78. เกง
    หมายถึง ชื่อเครื่องดักสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง จำพวกกระต่าย สานด้วยเชือกปอหรือป่านตาห่างๆ เหมือนตาแห เรียก เกง ชิง ก็ว่า ดักกระต่าย คือห้างกระต่าย.
  79. เกงญา
    หมายถึง นางสาวน้อย, นางงาม หญิงที่มีรูปร่างสวยงาม เรียก เกงญา กัญญา ก็ว่า อย่างว่า นางนั้นแนนกล่อมเกี้ยวท้าวชื่อศรีวิชัย บิดาดลนิมิตรเยืองพระองค์แก้ ภายลุนเลยเสียแก้วเกงญาลูกมิ่ง ท้าวต่างตุ้มผันผายสิ่งลม (สังข์).
  80. เกย
    หมายถึง ที่สำหรับขึ้นลงราชยานของเจ้านายเรียก เกย อย่างว่า สะพ่มพร้อมอามาตย์ประดับดี ปูราชสิงหาส์นลวาดเพียงพรมล้วนยนยนช้างเชียงทองคับคั่งม้ามากเท้าเกยกว้างจอดจน (สังข์) ยั่งยั่งเที้ยนขุนนายเนืองแห่ ควาญเกี่ยวช้างเฮียงฮ้านแทบเกย (ฮุ่ง).
  81. เกล้าผม
    หมายถึง มวยผม
  82. เกษตรกรรม
    หมายถึง การทำไร่ไถนาปลูกพืชผักเลี้ยงสัตว์ การประมง การป่าไม้ (ส.).
  83. เกษิม
    หมายถึง เกษมสุข
  84. เกิน
    หมายถึง ไม้ที่ใช้ช่วยในการปีนขึ้นที่สูง
  85. เกิบ
    หมายถึง รองเท้า
  86. เกิบแก้ว
    หมายถึง รองเท้าขลิบด้วยแก้ว
  87. เกิบโบก
    หมายถึง รองเท้าผ้าใบ,รองเท้าหุ้มส้น
  88. เกิ่ง
    หมายถึง เท่ากัน, เท่าทียมกัน, เทียบเท่า, เสมอ
  89. เกีย
    หมายถึง เลี้ยง ให้อาหาร ใช้กับสัตว์
  90. เกี่ย
    หมายถึง ขี่หลัง
  91. เกี่ย (อุ้ม)
    หมายถึง อุ้ม,แบก
  92. เกี่ยวกินตีน
    หมายถึง เหน็บกินเท้า, เป็นเหน็บที่เท้า
  93. เกี่อย
    หมายถึง ลักษณะของการตัก
  94. เกี้ยงตั๊บ
    หมายถึง หมดเกลี้ยง,ไม่เหลืออะไรเลย
  95. เกือ
    หมายถึง การให้อาหารสัตว์
  96. เกือกตม
    หมายถึง เกือกขี้โคลน
  97. เกือบถืก
    หมายถึง เกือบถูก
  98. เกือย (ตัก)
    หมายถึง ตัก , ตักออก
  99. เกือยแก้
    หมายถึง แก้ไข
  100. เกื้อ
    หมายถึง เอื้อเฟื้อ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ก (หน้าที่ 4)"