ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ก (หน้าที่ 3)

  1. กลางเมือง
    หมายถึง ตรงกลางเมือง เรียก กลางเมือง.
  2. กลางเว็น
    หมายถึง กลางวัน
  3. กลายยาม
    หมายถึง เลยเวลา,เวลาผ่านพ้นไปแล้ว,ล่วงไปแล้ว,เลยเวลาที่จะทำ
  4. กลิ่นกลั้ว
    หมายถึง รสหอมระคนกัน, รสกล่อมกล่อม
  5. กลิ้งเกลือกลิเลือ
    หมายถึง ลักษณะกระวนกระวาย,ทุรนทุราย,กระฉับกระส่าย
  6. กลืนลึดๆ
    หมายถึง กลืนโดยไม่เคี้ยว
  7. กล้องขา
    หมายถึง กำไลขา
  8. กล้องแขน
    หมายถึง กำไลมือ ,กำไลแขน
  9. กวด,กวดกา
    หมายถึง ตรวจ,ตรวจตรา
  10. กวนบ้าน
    หมายถึง ผู้ใหญ่บ้าน
  11. กวม
    หมายถึง สวม
  12. กวม (นั่ง)
    หมายถึง นั่งทับ , นั่งคร่อม
  13. กวยโต่งเต่ง
    หมายถึง ลักษณะของอาการ แกว่งไปแกว่งมา
  14. กสิกรรม
    หมายถึง การทำไร่ไถนา.
  15. กองก้นจูดกูด
    หมายถึง ลักษณะอาการของคนหมอบหัวลงแล้วยกก้นขึ้น
  16. กองจู่นพูน
    หมายถึง ทำให้เป็นกอง , นำมารวมกันให้เป็นกอง , รวมกันมากๆ
  17. กองดาก
    หมายถึง นั่งยองๆก้น
  18. กองอ้วกย้วก
    หมายถึง ลักษณะคนล้มทรุดตัวลงกองกับพื้น
  19. กองอ้อกยอก
    หมายถึง กองเต็มพื้น
  20. กองเฟือง
    หมายถึง กองฟาง
  21. กอดจอด
    หมายถึง ของที่กองรวมกันไว้
  22. กะ
    หมายถึง 1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.
  23. กะจังว่า
    หมายถึง ก็นั่นน่ะสิ
  24. กะซาก
    หมายถึง (กริยา) กระชาก ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระซากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระซาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระซากเสียง
  25. กะซาง
    หมายถึง ก็ช่าง, แล้วแต่
  26. กะซาง,กะตามซ่าง,กะส่าง
    หมายถึง ก็ช่าง,ไม่ใส่ใจ,ช่างเถอะ
  27. กะซางเถาะ
    หมายถึง ก็ช่างเถอะ
  28. กะซางแม่มันเถาะ
    หมายถึง ก็ช่างแม่มึงเถอะ, ช่างแม่ง เป็นคำสบถเมื่อรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว
  29. กะญอน,กะหยอน,กะย่อน,กะย่อนว่า,กะญ่อนวา
    หมายถึง มิน่าหล่ะ,เพราะ,เป็นเพราะ,เป็นเพราะว่า
  30. กะดิกกะดิ้น
    หมายถึง อาการแสดงความอยากได้หรือความในใจให้ปรากฏด้วยการเคลื่อนไหวไปมา เรียก กะดิกกะดิ้น เช่น ผู้สาวมักผู้บ่าวก็จะแสดงอาการกะดิกกะดิ้น.
  31. กะด้อกะเดี่ย
    หมายถึง อะไรจะขนาดนั้น,มากมาย , มากเกินไป, ออกหน้าออกตา
  32. กะตากกะตาก
    หมายถึง เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงไก่ร้องเวลาตกไข่หรือเวลาตกใจดัง กะตาก กะตาก กะต้ากกะต้าก ก็ว่า.
  33. กะติกกะต่อน
    หมายถึง กระท่อนกระแท่น เช่น การทำงานไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เรียก กะติกกะต่อน กะติดกะต่อ ก็ว่า.
  34. กะตุง , ตุง
    หมายถึง แกลอนสำหรับใส่ของเหลว
  35. กะทักกะถั่น
    หมายถึง ลักษณะอาการของคนเร่งรีบ
  36. กะบอง
    หมายถึง กะไต้ ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง เรียก กะบอง กะไต้ ไต้ ขี้ไต้ ก็ว่า
  37. กะบั้ง
    หมายถึง กระบอกไม้ไผ่มีข้อข้างหนึ่งทำไว้สำหรับตักน้ำ หรือใส่สิ่งของต่างๆ
  38. กะบ่วง
    หมายถึง ช้อน
  39. กะปอม,ขี่กะปอม,ขี้กะปอม
    หมายถึง กิ้งก่า
  40. กะย่อน
    หมายถึง เพราะ เหตุ อย่างว่า
  41. กะย้อน
    หมายถึง เพราะ เหตุ อย่างว่า
  42. กะลอ
    หมายถึง เครื่องเคาะสำหรับให้สัญญาณ
  43. กะลื้ดกะล้าด
    หมายถึง ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย
  44. กะลุม,กะลัง
    หมายถึง กล่อง,ลังกระดาษ
  45. กะล่าง
    หมายถึง ใต้ถุน,ข้างล่าง
  46. กะสั่น
    หมายถึง ถ้าอย่างนั้น, เพราะฉะนั้น
  47. กะส่าง
    หมายถึง ก็ช่าง, แล้วแต่
  48. กะส่างแม่มันเถาะ
    หมายถึง ก็ช่างแม่มึงเถอะ, ช่างแม่ง เป็นคำสบถเมื่อรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว
  49. กะหยอน
    หมายถึง เพราะ เหตุ อย่างว่า
  50. กะหยอนว่า
    หมายถึง มิน่า, มิน่าล่ะ
  51. กะหย่า
    หมายถึง ก็ช่าง,ช่างเถอะ,ช่างมัน
  52. กะเซอะกะเซิง
    หมายถึง ฟูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
  53. กะเบียน
    หมายถึง ถาดสำหรับทำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วให้เย็นก่อนที่จะเก็บเข้าภาชนะบรรจุ
  54. กะเลิงเบิ๊บ,กะโลกกะล๊าก
    หมายถึง เฉิ่ม,ม้าดีดกระโหลก,กะโหลกกะลา
  55. กะเสินว่ะ
    หมายถึง นับประสาอะไร
  56. กะเอา
    หมายถึง คาดคะเน
  57. กะแลม
    หมายถึง ไอติม,ไอศครีม
  58. กะโบกดาก
    หมายถึง เชิงกราน.
  59. กะโป๋
    หมายถึง กะลามะพร้าว
  60. กะโพก
    หมายถึง ประทัด
  61. กะโมะ
    หมายถึง พอดี, ประจวบเหมาะ, พบโดยบังเอิญ
  62. กะไต
    หมายถึง กรรไกร กรรไกรสำหรับตัดผมเรียก มีดกะไต มีดตะไก ก็ว่า.
  63. กะไต
    หมายถึง กรรไกร
  64. กังสะดาล
    หมายถึง ระฆังวงเดือน
  65. กัดแข่วบืน
    หมายถึง กัดฟันสู้
  66. กับบาด
    หมายถึง ทันทีทันได
  67. กับแก้
    หมายถึง ตุ๊กแก
  68. กับไฟ
    หมายถึง ไม้ขีด
  69. กัสสโป
    หมายถึง เต่า
  70. กั้งโกบ
    หมายถึง ลักษณะอาการมือป้อง สายตามอง ยกมือข้างหนึ่งวางไว้เหนือคิ้ว เรียก กั้งโกบ เพื่อตั้งการมองดูข้างล่าง ไม่ให้แสงข้างบนมากระทบ.
  71. กั๋ว
    หมายถึง ใช่แล้ว
  72. กากซาก
    หมายถึง อาการที่มีของแหลม หรือมีสิ่งที่หยาบๆอยู่เป็นจำนวนมาก
  73. กาขาว
    หมายถึง กาเผือก
  74. กางกี้
    หมายถึง นกกางกี้,นกแก้ว
  75. กาย
    หมายถึง ตัว, ร่างกายผ่าน, ผ่านหน้าไป
  76. กาย
    หมายถึง ผ่าน, ผ่านหน้าไป
  77. กาย (หย่างกาย)
    หมายถึง ผ่าน
  78. กินข้าวงาย
    หมายถึง รับประทานอาหารมื้อเช้า
  79. กินข้าวสวย
    หมายถึง รับประทานอาหารมื้อกลางวัน มื้อเที่ยง
  80. กินข้าวแลง
    หมายถึง รับประทานอาหารมื้อเย็น หรือมื้อค่ำ
  81. กินดอง
    หมายถึง แต่งงาน,การแต่งงาน
  82. กิ่งดิ่ง
    หมายถึง สูงชัน, ชัน
  83. กิ่นกิ่น
    หมายถึง อาการที่มีควันหรือฝุ่นละออง
  84. กิ่นติ่น
    หมายถึง อาการวิ่งไปโดยเร็วของเด็ก โดยผู้พูดพูดด้วยความเอ็นดูเด็ก ๆ
  85. กิ่ว
    หมายถึง คอด หรือเล็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึงกำลังจะขาด
  86. กิ้น
    หมายถึง สั้น,สั้นลง, สั้น, สั้นมาก บางครั้งก็ใช้คำว่า กุ้น
  87. กิ้น
    หมายถึง สั้น, สั้นมาก กุ้น ก็เรียก
  88. กิ้นกิ้น
    หมายถึง อาการพุ่งพวยออกของควันไฟที่ไม่ได้มากนัก กุ้นกุ้น, กุ้มกุ้ม ก็เรียก
  89. กิ๋เกี้ยม
    หมายถึง จิ้งจก
  90. กีกซีก
    หมายถึง สีแดงช้ำ
  91. กีด
    หมายถึง เกะกะ , ขวางทาง
  92. กีบฟ้า
    หมายถึง เมฆ, ก้อนเมฆ, กลีบเมฆ
  93. กี่
    หมายถึง เผา ใช้กับการทำอาหารให้สุก คล้ายการปิ้งหรือย่าง โดยวางบนไฟตรง ๆ ซึ่งจะใช้ไฟค่อนข้างแรง หรือบางทีอาจจะซุกไว้กับขี้เถ้าที่ยังมีความร้อนอยู่
  94. กึง
    หมายถึง เกร็ง
  95. กึ่ม
    หมายถึง เป็นคำด่า เสียดสี ประมาณว่าโง่ ไม่เอาไหน
  96. กืก
    หมายถึง ใบ้,เป็นใบ้
  97. กุก กุก เกีย เกีย
    หมายถึง อยู่ข้างๆไม่ไกลไม่ใกล้
  98. กุกรรม
    หมายถึง ความชั่วที่ทำด้วยกายวาจาและใจเรียก กุกรรม อย่างว่า ความชั่วที่ได้ทำในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (สวดมนต์).
  99. กุฎโฎ
    หมายถึง ไก่
  100. กุด
    หมายถึง ด้วน

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ก (หน้าที่ 3)"