ค้นเจอ 30 รายการ

เหยียด

หมายถึง[เหฺยียด] ก. ทำสิ่งที่งออยู่ให้ตรง เช่น เหยียดเส้นลวด; ยาวตรงออกไปเต็มขนาด เช่น เหยียดแขน เหยียดขา; ในวิธีเลขโบราณว่า ลบออก เช่น เหยียดนพเป็นเอก คือ เอา ๙ ลบ ๑๐ เหลือ ๑; ดูถูก เช่น เหยียดผิว. ว. ยาวตรงออกไปเต็มขนาด ในคำว่า ยาวเหยียด.

คู้

หมายถึงก. ตรงกันข้ามกับ เหยียด, งอเข้า เช่น คู้เข่า.

ยาวเหยียด

หมายถึงว. ทอดตรงออกไปเต็มเหยียด เช่น นอนยาวเหยียด, ยาวเป็นแถวเป็นแนวไปไกล เช่น ขบวนยาวเหยียด, ยาวมากเกินไป เช่น พรรณนาสรรพคุณเสียยาวเหยียด.

วัดพื้น

หมายถึง(ปาก) ก. หกล้มเหยียดยาวลงบนพื้น.

แผ่หลา

หมายถึง(ปาก) ว. อาการที่นอนเหยียดแขนขาเต็มที่.

แบมือ

หมายถึงก. หงายมือเหยียดนิ้วทั้ง ๕ ออก; ไม่เอาธุระ.

พุ่งหลาว

หมายถึงก. พุ่งตัวพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้า.

ขึงพืด

หมายถึงก. จับให้นอนเหยียดยาวกางแขนกางขา.

หยัด

หมายถึงก. ยืดเหยียดออก เช่น หยัดกาย; หยดลง, ตกลง, (ใช้แก่นํ้า).

ทิ้งย่อ

หมายถึงก. กระโดดลงมาแล้วย่อหัวเข่าพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้า.

ชี้

หมายถึงน. เรียกนิ้วที่ ๒ นับแต่หัวแม่มือว่า นิ้วชี้. ก. เหยียดนิ้วชี้เป็นต้นตรงไปที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้เห็นสิ่งที่ต้องการ, เหยียดตรง เช่น หางชี้; แนะนำ, บอกให้, เช่น ชี้ทาง.

ประสาร

หมายถึง(แบบ) ก. คลี่ออก, เหยียดออก, แผ่ออก, ขยาย. (ส. ปฺรสาร ว่า เที่ยวไป; ป. ปสาร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ