ค้นเจอ 15 รายการ

สนม

หมายถึง[สะหฺนม] (โบ) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม.

สนม

หมายถึง[สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสำนักทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. ).

สนม

หมายถึง[สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).

เข้าลิลิต

หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."

พระสนม

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี.

ติดสนม

หมายถึง(โบ) ก. ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐานโดยอยู่ในความดูแลของพวกสนม ใช้แก่ผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่.

จอมมารดา

หมายถึงน. พระสนมที่มีพระโอรสหรือพระธิดาแล้ว, พระสนมที่มีพระองค์เจ้าแล้ว.

เจ้าจอม

หมายถึงน. ตำแหน่งพระสนมวังหลวง.

เนรนาด

หมายถึง[เนระ-] (กลอน) ก. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด, เช่น เสมือนหนึ่งราชกัญญาคณานางสนมล้มเนรนาดด้วยอาลัย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (อาจเพี้ยนมาจาก ระเนระนาด).

ฮาเร็ม

หมายถึงน. สถานที่ที่จัดไว้ให้เป็นที่อยู่ของบรรดานางสนมหรือนางบำเรอของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีอำนาจ หรือเศรษฐีที่เป็นมุสลิม มักจะเป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกกลางและอินเดียสมัยที่มุสลิมปกครองเป็นต้น. (อ. harem).

กบูร

หมายถึง[กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), คำนี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.

ประเทียบ

หมายถึงน. พระสนม; เรียกรถฝ่ายในว่า รถพระประเทียบ, เรียกเรือฝ่ายในว่า เรือพระประเทียบ, โดยอนุโลมเรียกรถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่า รถพระประเทียบ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ