ค้นเจอ 112 รายการ

วา

หมายถึงน. เพลงปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.

วา

หมายถึงน. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง.

ยะวา

หมายถึง(โบ) น. ชวา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๗ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น เช่น วัน วา ใช้ควบกล้ำกับพยัญชนะตัวอื่นบางตัว เช่น กว่า ความ และใช้เป็นตัวสะกดในแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว.

ยัฐิ

หมายถึง[ยัดถิ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ.

เรืออีโปง

หมายถึงน. เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทำจากโคนต้นตาลผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก และปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่าหัวเรือ.

หน้าตัก

หมายถึงน. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิโดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้วพระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก.

พยาม,พยามะ

หมายถึง[พะยาม, พะยามะ] น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. (ป. พฺยาม, วฺยาม; ส. วฺยาม).

มาด

หมายถึงน. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๔ วา, ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ยังไม่ได้เบิก เรียกว่า มาดเรือโกลน หรือ ลูกมาด, ถ้ามีประทุน เรียกว่า เรือมาดประทุน, ถ้ามีเก๋ง เรียกว่า เรือมาดเก๋ง.

อัพภันดร,อัพภันตร,อัพภันตร-

หมายถึง[อับพันดอน, -ตะระ-] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).

อุสภ

หมายถึง[อุสบ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณเท่ากับ ๑ เส้น ๕ วา, ๘๐ อุสภ เป็น ๑ คาวุต. (ป.).

ยก

หมายถึงน. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กำหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจำนวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒-๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กำหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ