ค้นเจอ 10 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา แม้, ถ้า

ผิ

หมายถึงสัน. ถ้า, หาก, แม้น.

แม้

หมายถึงสัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คำสนับสนุนข้ออ้างให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.

ถ้า

หมายถึงสัน. คำแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก.

ผิดก

หมายถึง[ผิ-ดก] ว. มั่งคั่ง, ผึ่งผาย. (ป. ผีตก; ส. สฺผีตก).

ผิตะ, ผีตะ

หมายถึงว. มั่งคั่ง, ผึ่งผาย, กว้างขวาง. (ป.).

ผิว

หมายถึง[ผิวะ] สัน. ถ้าว่า, หากว่า, แม้นว่า. ผิว่า ก็ว่า

ดำหนัก

หมายถึง(แบบ) น. ตำหนัก เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดำหนัก. (ม. คำหลวง ชูชก).

ผาณิต

หมายถึง[-นิด] น. นํ้าอ้อย, บางทีประสงค์เอานํ้าตาลด้วย, เช่น ผาณิตผิชิดมด ฤจะอดบอาจจะมี. (อิลราช). (ป., ส.).

ประอุก

หมายถึงก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.

กว่า

หมายถึง[กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคำใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คำหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คำหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ลํ๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ