ค้นเจอ 134 รายการ

ทาน,ทาน,ทาน-

หมายถึง[ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).

ทาน

หมายถึงก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.

ทาน

หมายถึงก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.

ทานบารมี

หมายถึง[ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).

ธาร

หมายถึง[ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น จุฑาธาร. (ป., ส.).

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

เอาทาร

หมายถึง[-ทาน] ว. สูง, เลิศ, ประเสริฐ, ยิ่งใหญ่; ซื่อตรง, มีความจริงใจ; สุภาพ; ถูกต้อง. (แผลงมาจาก อุทาร).

ทานาธิบดี

หมายถึงน. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทาน + อธิปติ).

บารมี

หมายถึง[-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).

อาธาร

หมายถึง[-ทาน] น. เครื่องคํ้าจุน, ฐานที่รองรับ, เช่น ปัตตาธาร = เชิงบาตร, ตีนบาตร คุณาธาร = ฐานที่รองรับคุณความดี; การอุปถัมภ์; อ่าง, หม้อนํ้า, ที่ขังนํ้า, สระ. (ป., ส.).

เอาทารย์

หมายถึง[-ทาน] น. ความมีใจโอบอ้อม, ความเป็นคนใจบุญ, ความเผื่อแผ่. (ส. เอาทารฺย).

ธาร

หมายถึง[ทาน] น. นํ้า, ลำธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ