ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา หฤษฎี, กฤษฎี

ทฤษฎี

หมายถึง[ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺิ). (อ. theory).

กุจี

หมายถึง(แบบ) น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจำนง. (สุธน).

ศิลปศึกษา

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์.

วิทยาศาสตร์ประยุกต์

หมายถึงน. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทางทฤษฎี เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์.

ทุทรรศนนิยม,ทุนิยม

หมายถึงน. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การมองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).

วัตถุนิยม

หมายถึงน. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.

ปฏิบัติการ

หมายถึงก. ทำงานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชำนาญเป็นต้น เช่น ห้องปฏิบัติการ.

ศิลปะประยุกต์

หมายถึงน. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติ เพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้น อย่างในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.

สังคมนิยม

หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มีหลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจนการจำแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

กรด

หมายถึง[กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่งมาจากสารอื่นได้. (อ. acid).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ