ค้นเจอ 61 รายการ

กรม

หมายถึง[กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.

กระซุง

หมายถึงน. พนักงาน, ตำแหน่ง. (พจน). (เทียบ กระทรวง).

กระทรวง

หมายถึง[-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).

กระ

หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.

ทบวงการเมือง

หมายถึง(กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล.

กระทรวง

หมายถึง[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).

นิติบุคคล

หมายถึง(กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ.

ตระทรวง

หมายถึง[ตฺระซวง] (โบ) น. กระทรวง. (สามดวง).

เจ้ากระทรวง

หมายถึงน. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง.

การต่างประเทศ

หมายถึงน. ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ.

ทบวง

หมายถึง[ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.

ตั๋วเงินคลัง

หมายถึงน. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการกู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ