ค้นเจอ 11 รายการ

ไตร่ตรอง

หมายถึง[ไตฺร่ตฺรอง] ก. คิดทบทวน, ตริตรอง.

คิด

หมายถึงก. ทำให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คำนวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.

วินิจฉัย

หมายถึงก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัยปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).

พิเคราะห์

หมายถึงก. ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ. (ส. วิคฺรห; ป. วิคฺคห).

ดำริ

หมายถึง[-หฺริ] ก. คิด, ไตร่ตรอง. (แผลงมาจาก ตริ).

หูเบา

หมายถึงว. เชื่อโดยไม่ไตร่ตรอง.

วิมังสา

หมายถึงน. การสอบสวน, ความไตร่ตรอง, ความพิจารณา. (ป. วีมํสา; ส. มีมำสา).

เบาความ

หมายถึงว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.

บ้าจี้

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือแสดงโดยขาดสติเมื่อถูกจี้ทำให้ตกใจ, ทำตามโดยปราศจากการไตร่ตรองเมื่อถูกยุหรือแนะ.

เอะอะ

หมายถึงก. อึกทึก, ทำเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.

อึกอัก

หมายถึงว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่าเป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียงทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ