ค้นเจอ 131 รายการ

ยี่สก

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก.

ตำหระ

หมายถึง(โบ) น. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย).

แถว

หมายถึงน. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.

ลำเนา

หมายถึงน. แนว, แถว, แถบ, ถิ่น.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

ดา

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้านหลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตำกับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้ายแมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นำมาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลำตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.

แถบ

หมายถึงว. สิ่งที่แบนยาว เช่น แถบทอง ผ้าแถบ; ซีก, ด้าน, เช่น ร่างกายตายไปแถบหนึ่ง ไฟไหม้ไปแถบหนึ่ง; ถิ่น, แถว, เช่น อยู่แถบนี้; (ถิ่น-พายัพ) เรียกเงินรูปีที่เคยใช้ในพม่าว่า เงินแถบ.

เสือข้างลาย

หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Puntius partipentazona ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างและลักษณะคล้ายปลาตะเพียน มีลายดำ ๕ แถบ พาดขวางได้จังหวะกัน.

โนรี

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Heniochus วงศ์ Chaetodontidae ลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนแรกยื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวย หัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด H. acuminatus ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหินปะการัง.

พื้น

หมายถึงน. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.

จำหระ

หมายถึงน. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย), ตำหระ ก็ว่า.

ตระ

หมายถึง[ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ