ค้นเจอ 14 รายการ

เฟื้อง

หมายถึง(โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๑ เฟื้อง.

หุน

หมายถึงน. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของนิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. (จ.).

โสฬส

หมายถึง[-ลด] ว. สิบหก. น. ชั้นพรหมโลก ๑๖ ชั้น ถือกันว่าเป็นที่มีสุขอย่างยอดยิ่ง; ตำราเล่นการพนันครั้งโบราณสำหรับเล่นหวย เล่นถั่ว; เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๑๖ อัน เป็น ๑ เฟื้อง, เรียกย่อว่า ฬส. (ป.).

มีเฟื้องมีสลึง

หมายถึง(สำ) ก. มีเงินเล็กน้อย.

อัฐ

หมายถึง[อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสำนวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

สามสลึงเฟื้อง

หมายถึง(ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.

ตาเฟื้องตาสลึง

หมายถึง(สำ) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว).

วิศางค์

หมายถึงน. ๑ ใน ๒๐ ของเฟื้อง. (ส. วีศ + องฺค).

เงินแป

หมายถึง(โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔).

ไม่เต็มเต็ง,ไม่เต็มบาท

หมายถึง(ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.

สองสลึงเฟื้อง

หมายถึง(ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ