ค้นเจอ 11 รายการ

ประจัญ

หมายถึง[ปฺระจัน] ก. ปะทะต่อสู้, ผจัญ ก็ว่า.

เผชิญหน้า

หมายถึงก. เจอกันซึ่งหน้า (ใช้แก่ผู้ที่ไม่ชอบหน้ากัน).

หลบหน้า,หลบหน้าหลบตา

หมายถึงก. หลบไปไม่เผชิญหน้า.

ประจันหน้า

หมายถึงก. เผชิญหน้ากัน, อยู่ต่อหน้ากัน.

เข้าหน้า

หมายถึงก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า.

รับหน้า

หมายถึงก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.

สู้หน้า

หมายถึงก. รอหน้า, เผชิญหน้า, เช่น เขาทำผิด เลยไม่กล้าสู้หน้าฉัน.

รอหน้า

หมายถึงก. เข้าหน้า, เผชิญหน้า, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น รอหน้าไม่ติด ไม่อยู่รอหน้า.

ปะทะ

หมายถึงก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก.

ผจญ,ผจัญ

หมายถึง[ผะจน, ผะจัน] ก. พยายามต่อสู้, พยายามเอาชนะ, เช่น มารผจญ, ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะ เช่น ผจญความทุกข์ยาก ผจญอุปสรรค, ประจญ หรือ ประจัญ ก็ว่า. (ข. ผฺจาญ่ ว่า ทำให้แพ้).

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ