ค้นเจอ 53 รายการ

เที่ยง

หมายถึงว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคำว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยำ, ในคำว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.

มัธยันห์

หมายถึง[มัดทะยัน] น. เวลากลางวัน, เที่ยงวัน. (ส. มธฺยาหฺน).

โมงโมง,โมง

หมายถึงน. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.

เที่ยง ๆ

หมายถึงว. ราว ๆ เที่ยง.

มือเที่ยง

หมายถึงว. แน่, แม่นยำ, เช่น เขายิงปืนมือเที่ยง; มีความสามารถในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือนไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น.

ไกลปืนเที่ยง

หมายถึง(สำ) ว. ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ.

มัชฌันติกสมัย

หมายถึงน. เวลาเที่ยงวัน. (ป.).

ทินาท

หมายถึง(โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.

มัชฌันติก,มัชฌันติก-

หมายถึง[มัดชันติกะ-] น. เวลาเที่ยงวัน, คู่กับ วิมัชฌันติก ว่า เวลาเที่ยงคืน. (ป.).

ธุว,ธุว-

หมายถึง[ทุวะ-] (แบบ) ว. มั่น, เที่ยง. (ป.).

อนิจจัง

หมายถึง[อะนิด-] ว. ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ. (ป.).

อัฒรัตติ

หมายถึงน. เที่ยงคืน. (ป. อฑฺฒรตฺติ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ