ค้นเจอ 12 รายการ

อัฐ,อัฐ-,อัฐ-

หมายถึง[อัดถะ-] ว. แปด. (ป. อฏฺ).

อัฐ

หมายถึง[อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสำนวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.

วันอัฐมี

หมายถึง[-อัดถะ-] น. วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖.

อัฐมี

หมายถึงน. ดิถีที่ ๘, เรียกวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ว่า วันอัฐมี.

เบี้ย

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสำหรับซื้อขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับสตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคำว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.

เฟื้อง

หมายถึง(โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๑ เฟื้อง.

กล่ำ

หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).

ไพ

หมายถึง(โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒ อัฐ เท่ากับ ๑ ไพ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.

ไม่กี่อัฐ,ไม่กี่อัฐฬส

หมายถึง(สำ) น. ราคาถูก เช่น ของนี้ราคาไม่กี่อัฐ.

อัฐยายซื้อขนมยาย

หมายถึง(สำ) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น.

อัฐฬส

หมายถึง[อัดลด] น. ราคาถูก ในสำนวนว่า ไม่กี่อัฐฬส, ไม่กี่อัฐ ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ