ค้นเจอ 9 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา กฎหมาย, , กราบ, กฤดา,กฤดาการ

กฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).

หมายถึง[นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] (โบ) ว. ตราบ เช่น กราบเท่ากัลปาวสาน. (พงศ. อยุธยา).

กฤดา,กฤดาการ

หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).

ออกญา

หมายถึงน. บรรดาศักดิ์ชั้นสูงที่พระราชทานในสมัยอยุธยา สูงกว่าออกพระ เข้าใจว่ามาจากเขมร.

จาก

หมายถึงก. ออกพ้นไป เช่น จากบ้านจากเมือง จากลูกจากเมีย. บ. คำนำหน้านามบอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา; ตั้งแต่ เช่น จากเช้าจดคํ่า.

ทะแย

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยโบราณทำนองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.

กระบอก

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

ตรีบูร

หมายถึงน. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กำสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ