ค้นเจอ 44 รายการ

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

นัย

หมายถึง[ไน, ไนยะ] น. ข้อสำคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย).

อนุตร,อนุตร-

หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).

อนุประโยค

หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.

เลศนัย

หมายถึง[เลดไน] น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.

พูดเป็นนัย

หมายถึง(สำ) ก. พูดอ้อม ๆ โดยไม่บอกเรื่องราวตรง ๆ.

อนุกาชาด

หมายถึง(โบ) น. อนุสมาชิกของสภากาชาด.

เอกนัย

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. นัยอันหนึ่ง, นัยอันเดียวกัน.

บอกใบ้

หมายถึงก. แนะด้วยอุบาย, บอกเป็นเลศนัย.

อนุภาษ

หมายถึง[-พาด] ก. พรํ่ากล่าว, พรํ่าสอน. (ส.; ป. อนุภาส).

อนุศิษฏ์

หมายถึงก. สั่งสอน, ชี้แจง. (ส.; ป. อนุสิฏฺ).

รู้กัน

หมายถึงก. รู้เป็นนัยกันเฉพาะในกลุ่มของตน เช่น เรื่องนี้เขารู้กัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ