ค้นเจอ 174 รายการ

อธิ

หมายถึงคำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).

อธิก,อธิก-

หมายถึง[อะทิกะ-, อะทิกกะ-] ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ, ใช้ว่า อธึก ก็มี. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๔ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กฎ มงกุฎ.

ฐาน,ฐาน,ฐาน-,ฐานะ

หมายถึง[ถาน, ถานะ-] น. ตำแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).

ฐาน

หมายถึง[ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).

ฐาน

หมายถึงสัน. เพราะ เช่น ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่.

ฐาน

หมายถึง(คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๑๐) + (๖ ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๗) + (๖ ๗๒).

ราชฐาน

หมายถึงน. ที่อยู่ประจำของพระเจ้าแผ่นดิน ใช้ว่า พระราชฐาน เช่น เขตพระราชฐาน แปรพระราชฐาน.

เป็นหลักเป็นฐาน

หมายถึงว. มีฐานะมั่นคง เช่น เขาตั้งตัวเป็นหลักเป็นฐานแล้ว.

ของเถื่อน

หมายถึงน. ของที่ผิดกฎหมาย.

แปรพระราชฐาน

หมายถึง[-พฺระราดชะถาน] (ราชา) ก. เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว.

อธึก

หมายถึงว. อธิก, ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ