ค้นเจอ 229 รายการ

หน้าพาทย์แผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อเดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.

หน้าพาทย์

หมายถึงน. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สำหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สำหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รำหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.

แผลง

หมายถึง[แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลงพยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คำแผลง.

แผลงศร

หมายถึงก. ยิงลูกธนูออกไปด้วยแรงแห่งฤทธิ์.

สำนึง

หมายถึงก. อยู่. (แผลงมาจาก สึง).

ประลาย

หมายถึง(กลอน) แผลงมาจาก ปลาย.

อำนวย

หมายถึงก. ให้. (แผลงมาจาก อวย).

รำราญ

หมายถึงก. รบ. (แผลงมาจาก ราญ).

แผลงฤทธิ์แผลงเดช

หมายถึง(ปาก) ก. อาละวาดด้วยความโกรธเพราะถูกขัดใจ, ออกฤทธิ์ ก็ว่า.

เสาว,เสาว-

หมายถึง[-วะ-] ว. ดี, งาม. (แผลงมาจาก สว สุ โส เช่น เสาวภาพ แผลงมาจาก สวภาพ, เสาวคนธ์ แผลงมาจาก สุคนธ์, เสาวภา แผลงมาจาก โสภา).

คระไล

หมายถึง[คฺระ-] ก. ไป. (แผลงมาจาก ไคล).

กรรลี

หมายถึง[กัน-] น. โทษ. (ส. กลี แผลงเป็น กระลี และแผลง กระลี เป็น กรรลี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ