ค้นเจอ 166 รายการ

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

สุ,สุ,สุ ๆ

หมายถึงว. เสีย แต่ยังไม่เน่า (มักใช้แก่แตงโม) เช่น แตงโมใบนี้สุแล้ว แตงโมสุ ๆ.

สุ

หมายถึงก. ซักสบงจีวรวิธีหนึ่งโดยใช้นํ้าร้อนหรือมะกรูดมะนาวเป็นต้น, มักใช้ว่า ซักสุ.

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

ไตรวิชชา

หมายถึง[-วิดชา] น. วิชชา ๓ คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ ๑ วิชชารู้ความตายความเกิดของคนและสัตว์ ๑ วิชชารู้ในทางทำให้สิ้นกิเลส ๑.

สุภ,สุภ-

หมายถึง[สุบพะ-] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ป.; ส. ศุภ).

สุร

หมายถึง[-ระ-] น. เทวดา. ว. ทิพย์. (ป., ส.).

สุร-

หมายถึง[-ระ-] น. เทวดา. ว. ทิพย์. (ป., ส.).

สุร

หมายถึง[-ระ-] น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; พระอาทิตย์. ว. กล้าหาญ, เข้มแข็ง. (ป. สูร; ส. ศูร).

สุวะ

หมายถึง[-วะ] น. นกแขกเต้า. (ป.; ส. ศุก).

สุโข

หมายถึง(ปาก) ว. เป็นสุข เช่น นอนหลับอย่างสุโข.

สุตะ

หมายถึงก. ไหลไป. (ป.; ส. สฺรุต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ