ค้นเจอ 17 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สังฆการี

สังฆกรรม

หมายถึง[สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).

ร่วมสังฆกรรม

หมายถึงก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.

สบสังวาส

หมายถึงว. อยู่ร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกันร่วมทำสังฆกรรมด้วยกันได้ เรียกว่า สงฆ์สบสังวาส.

นานาสังวาส

หมายถึงน. การอยู่ร่วมต่างกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้).

ผูกพัทธสีมา

หมายถึงน. เรียกพิธีสังฆกรรมที่สงฆ์กำหนดเขตแดนขึ้น โดยมีหินเป็นต้นเป็นเครื่องหมาย ว่า พิธีผูกพัทธสีมา.

พุทธาวาส

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).

หงายบาตร

หมายถึง(สำ) น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม.

สมานสังวาส

หมายถึง[สะมานะ-] น. การอยู่ร่วมเสมอกัน (ใช้แก่พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันได้). (ป. สมานสํวาส).

ลงอุโบสถ

หมายถึงก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.

พัทธสีมา

หมายถึงน. เขตที่สงฆ์กำหนดผูกขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรม มีขนาดพอจุภิกษุที่นั่งห่างกันคืบหนึ่ง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป.

คว่ำบาตร

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น.

หัตถบาส

หมายถึงน. ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทำสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง. (ป. หตฺถปาส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ