ค้นเจอ 61 รายการ

สังคม,สังคม-

หมายถึง[-คมมะ-] น. คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการหรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับการพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).

สังคมวิทยา

หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องสังคม.

สังคมศาสตร์

หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับสังคม มีหมวดใหญ่ ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ (เกี่ยวกับสังคม) มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยาสังคม.

เก็บตัว,เก็บตัว,เก็บเนื้อเก็บตัว

หมายถึงก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคมกับใคร.

เหลื่อมล้ำต่ำสูง

หมายถึงว. ไม่เท่าเทียมกัน เช่น มีฐานะทางสังคมเหลื่อมล้ำต่ำสูงกว่ากัน.

มารสังคม

หมายถึง[มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.

สังคมศึกษา

หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.

ฐาน,ฐาน,ฐาน-,ฐานะ

หมายถึง[ถาน, ถานะ-] น. ตำแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).

เสียมารยาท

หมายถึงก. แสดงกิริยาที่สังคมถือว่าไม่สมควร, เสียกิริยา ก็ว่า.

ประเพณีนิยม

หมายถึงน. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา.

กฎธรรมดา

หมายถึงน. ข้อกำหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์และสังคม.

เสียกิริยา

หมายถึงก. แสดงกิริยาที่สังคมถือว่าไม่สมควร, เสียมารยาท ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ