ค้นเจอ 8,057 รายการ

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

หะแห้น

หมายถึง(วรรณ) ว. เสียงร้องของสัตว์ดังเช่นนั้น.

เลอภพ

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้ปกครองภพ.

เลอสรวง

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้ครองสวรรค์.

เลอหล้า

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้ครองโลก.

รณ,รณ-

หมายถึง[รน, รนนะ-] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).

วร

หมายถึง[วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).

วร-

หมายถึง[วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).

วัณณะ

หมายถึง(แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ-, วรรณะ).

ว่ายฟ้า

หมายถึง(วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).

ศฤงคารรส

หมายถึง[สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของวรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมีเนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ