ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา มะม่วง, พิมาน, พิเรนทร์, พิมล

พิมเสน

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีเกล็ดพิมเสนอยู่ในเนื้อไม้. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ขยี้แล้วมีกลิ่นหอม ใช้กลั่นให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้แต่งกลิ่นและดับกลิ่นตัว. (๓) ชื่อมะม่วงหลายพันธุ์ของชนิด Mangifera indica L. พันธุ์หนึ่งเมื่อดิบมีรสเปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน.

พิมเสน

หมายถึงน. ชื่อสารชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีทั้งที่ได้จากธรรมชาติและได้จากการสังเคราะห์ ใช้ทำยา ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากไม้ต้นชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae, จากไม้พุ่มชนิด Blumea balsamifera DC. ในวงศ์ Compositae, ที่ได้จากการสังเคราะห์เรียก พิมเสนหุง.

มะม่วง

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด M. caloneura Kurz ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.

เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

หมายถึง(สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.

ตรีสุคนธ์

หมายถึงน. กลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน.

รำหัด

หมายถึงก. โรย (ใช้สำหรับเอาพิมเสนแทรกยา); ใส่, แทรก. ว. อ่อน.

เอาทองไปรู่กระเบื้อง

หมายถึง(สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะตํ่ากว่า เป็นการไม่สมควร, เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ ก็ว่า.

ตะรังกะนู

หมายถึงน. เรียกของบางอย่างที่มาจากเมืองตะรังกะนู เช่น ส้มตะรังกะนู พิมเสนตะรังกะนู. (ปัจจุบัน คือ รัฐตรังกานูในประเทศมาเลเซีย).

ปากตะกร้อ

หมายถึงน. เรียกมะม่วงบางชนิด เช่น มะม่วงพิมเสน มะม่วงน้ำดอกไม้ ที่แก่จัดจนหัวเหลืองอยู่บนต้นว่า มะม่วงปากตะกร้อ.

ขยี้

หมายถึง[ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทำลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.

แทรก

หมายถึง[แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือสอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดำ แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปในระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.

เกล็ด

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน นํ้าตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ