ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สุญนิยม

พระเป็นเจ้า

หมายถึงน. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร, พระผู้สร้างโลก.

สุญนิยม

หมายถึงน. (ศาสน) ลัทธิที่ถือว่าคนและสัตว์เกิดหนเดียว ตายแล้วสูญ บุญบาป พระเป็นเจ้า นรก สวรรค์ ไม่มี; (อภิปรัชญา) ลัทธิที่ถือว่าไม่มีอะไรตั้งอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร; (จริย) ลัทธิที่ถือว่าคุณค่าทางศีลธรรมจรรยาไม่มี; (สังคม) ลัทธิที่ถือว่าความเจริญก้าวหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็โดยวิธีทำลายองค์การทางสังคมที่มีอยู่เดิมให้หมดไป. (อ. nihilism).

ละหมาดญานาซะฮ์

หมายถึงน. พิธีอ้อนวอนพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม เพื่อขอให้รับผู้ตาย (ระบุชื่อ) ไว้ในที่อันบริสุทธิ์.

ภควัต,ภควันต์,ภควา,ภควาน

หมายถึง[พะคะ-] น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).

จองเปรียง

หมายถึง[-เปฺรียง] น. ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเป็นเจ้า ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒.

คาทอลิก

หมายถึงน. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวชเรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).

ตรีเอกภาพ,ตรีเอกานุภาพ

หมายถึงน. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.

ไถ่บาป

หมายถึงก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้นบาปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน); (ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.

โองการ

หมายถึงน. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).

พรหม,พรหม-

หมายถึง[พฺรม, พฺรมมะ-] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหารทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ