ค้นเจอ 2,068 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ทรง

ครรไลหงส์

หมายถึงน. “พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ” หมายถึง พระพรหม เพราะพระพรหมทรงมีหงส์เป็นพาหนะ.

หงส์

หมายถึง[หง] น. ชื่อนกจำพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลำตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดำ (C. atratus).

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

เสาหงส์

หมายถึงน. เสาที่ทำรูปหงส์ติดไว้ที่ยอด มักปักอยู่ตามหน้าวัดของชาวรามัญ.

ช้าหงส์,ช้าเจ้าหงส์

หมายถึงน. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ กล่อมในพิธีพราหมณ์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.

หงส์แล่น

หมายถึงน. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.

หงส,หงส-,หงส์,หงส์

หมายถึง[หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์. (ป., ส. หํส).

หงสรถ

หมายถึง[หงสะรด] น. พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม.

พระสนม

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี.

ลาดพระบาท

หมายถึงน. พรมทางสำหรับปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของพระมหากษัตริย์และพระราชินี, ในปัจจุบันใช้ปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนินของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงด้วย.

เรือพระที่นั่งกิ่ง

หมายถึงน. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ