ค้นเจอ 5,834 รายการ

อุท,อุท-

หมายถึง[อุทะ-] น. นํ้า. (ป., ส.).

อมตบท

หมายถึงน. ทางพระนิพพาน. (ป. อมตปท; ส. อมฺฤตปท).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ฉินท,ฉินท-,ฉินท์

หมายถึง[ฉินทะ-] (แบบ) ก. ตัด, ขาด, ทำลาย. (ป., ส.).

สุทธ,สุทธ-,สุทธ์

หมายถึงว. หมดจด, สะอาด; ล้วน, แท้. (ป.).

กามท,กามท-

หมายถึง[กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ไพรระเรียง. (ม. คำหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).

นิรุทกะ

หมายถึง[-รุทะกะ] (แบบ) ว. ไม่มีนํ้า. (ป.).

ทมะ

หมายถึง[ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

ยุทธ,ยุทธ-,ยุทธ์

หมายถึง[ยุดทะ-] น. สงคราม, การรบพุ่ง. (ป., ส.).

มุทคะ

หมายถึง[มุดคะ] น. ถั่วเขียว. (ส. มุทฺค; ป. มุคฺค).

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ