ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา บูรพ์,บูรพะ, บุรณะ, ปุรณะ, บูรณะ

บูรณ,บูรณ-,บูรณ์

หมายถึง[บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).

เยาวชน

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์.

เด็ก

หมายถึงน. คนที่มีอายุยังน้อย; (กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์; ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส; บุคคลอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุแต่ ๑๕ ปีลงมา; บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์. ว. ยังเล็ก; อ่อนวัยกว่าในคำว่า เด็กกว่า.

เด็กชาย

หมายถึง(กฎ) น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.

เด็กหญิง

หมายถึง(กฎ) น. คำนำหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.

นางสาว

หมายถึง(กฎ) น. คำนำหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่มีสามี.

ทหารกองเกิน

หมายถึง(กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มีอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอพร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว.

บรรลุนิติภาวะ

หมายถึง(กฎ) ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง เช่น บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือโดยการสมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้ว.

ผู้ใหญ่

หมายถึงน. คนที่มีอายุมาก, บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์แล้ว, คนที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา.

แซยิด

หมายถึงน. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน, เรียกการทำบุญในวันเช่นนั้นว่า ทำบุญแซยิด. (จ.).

อันตรายิกธรรม

หมายถึง[-ยิกะทำ] น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ