ค้นเจอ 455 รายการ

กนิษฐภาดา

หมายถึงน. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).

ปู่น้อย

หมายถึงน. น้องชายของปู่.

ภราดร,ภราดา,ภราตร,ภราตร-,ภราตฤ,ภราตฤ-

หมายถึง[พะราดอน, พะราดา, พะราตฺระ-, พะราตฺรึ-] น. พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).

ภาตา,ภาตุ

หมายถึงน. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ).

น้อง

หมายถึงน. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนามใช้นับอายุไม้จำพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.

กนิษฐ-

หมายถึง[กะนิดถะ-] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).

ภาติกะ

หมายถึงน. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ + ก).

อนุชา

หมายถึง[อะนุชา] น. “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องชาย, (ราชา) พระอนุชา. (ป., ส.).

กนิษฐ

หมายถึง[กะนิดถะ-] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).

กนิษฐ์

หมายถึง[กะนิด] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).

อา

หมายถึงน. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาวของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ).

ภาติยะ

หมายถึงน. ลูกของพี่ชายน้องชาย, หลาน. (ป.; ส. ภาตฺรีย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ