ค้นเจอ 18 รายการ

นิติกรรม

หมายถึง(กฎ) น. การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.

ตีความ

หมายถึงก. ชี้หรือกำหนดความหมาย; ให้ความหมายหรืออธิบาย; ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่งหมายเพื่อความถูกต้อง; (กฎ) วิเคราะห์ถ้อยคำหรือข้อความในบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อกำหนดความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำหรือข้อความนั้น ๆ เช่น ตีความกฎหมาย.

นิติกรรมอำพราง

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.

เงื่อนไขบังคับก่อน

หมายถึง(กฎ) น. เงื่อนไขที่ทำให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว.

เงื่อนเวลาเริ่มต้น

หมายถึง(กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด.

เงื่อนเวลา

หมายถึง(กฎ) น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด.

เงื่อนไขบังคับหลัง

หมายถึง(กฎ) น. เงื่อนไขที่ทำให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว.

เงื่อนเวลาสิ้นสุด

หมายถึง(กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กำหนด.

สัตยาบัน

หมายถึงน. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทำขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).

เงื่อนไข

หมายถึงน. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต.

โมฆียกรรม

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.

กฎหมายแพ่ง

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ