ค้นเจอ 8 รายการ

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

ตีนกา

หมายถึงน. เครื่องหมายกากบาทมีรูปดังนี้ + หรือ , ไม้จัตวามีรูปดังนี้ ๋; เรียกรอยย่นซึ่งปรากฏที่หางตามีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตีนกา.

ตีนกา

หมายถึงน. ชื่อหญ้าชนิด Eleusine indica Gaertn. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นแบน ช่อดอกเป็นก้านเดี่ยว ปลายก้านแตกเป็นแขนงสั้น ๆ คล้ายตีนกา ใช้ทำยาได้, หญ้าปากคอก ก็เรียก.

หญ้าปากคอก

หมายถึงดู ตีนกา ๓.

ปากคอก

หมายถึงน. หญ้าปากคอก. (ดู ตีนกา ๓).

กากบาท

หมายถึง[กากะบาด] น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ ; ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.

หญ้า

หมายถึงน. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิดที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.

จัตวา

หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ