ค้นเจอ 616 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ธรรมนาถ, อาจาร,อาจาร-, จรรยา

จร,จร,จร-

หมายถึง[จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจำ เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคำไทยก็มี.

จร

หมายถึง[จอน] ดู จอน ๒.

วาระจร

หมายถึงน. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามาพิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.

ทุกร,ทุกร-

หมายถึง[ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).

มาแขก

หมายถึงก. แปลก, ประหลาด; จรมา, มาสู่.

จรลาด,จรหลาด

หมายถึง[จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).

ขรรคะ,ขรรคา

หมายถึง[ขักคะ, ขันคา] (แบบ) น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิงขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).

อสุร,อสุร-

หมายถึง[อะสุระ-] น. อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).

ทูร,ทูร-

หมายถึง[ทูระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).

ขากรรไกร

หมายถึง[-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่างกรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.

จิร,จิร-

หมายถึง[-ระ-] ว. นาน, ช้า. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ