ค้นเจอ 29 รายการ

กล่อม

หมายถึง[กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทำให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.

กล่อม

หมายถึง[กฺล่อม] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า.

กล่อม

หมายถึง[กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).

ช้า

หมายถึงน. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละครอื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.

กล่ำ

หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).

เห่

หมายถึงน. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้ายบทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และนักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.

กลึงกล่อม

หมายถึง[-กฺล่อม] น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง.

ช้าหงส์,ช้าเจ้าหงส์

หมายถึงน. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ กล่อมในพิธีพราหมณ์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.

ขับ

หมายถึงก. ร้องเป็นทำนอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา.

ร้องเรือ

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลงกล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.

ช้าลูกหลวง

หมายถึงน. การขับร้องเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอที่ขึ้นพระอู่.

จำเรียง

หมายถึงก. ขับลำ, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (แผลงมาจาก เจรียง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ