ค้นเจอ 29 รายการ

ยืนโรง

หมายถึงน. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจำ เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้างหรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจำโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอดรายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).

นายโรง

หมายถึงน. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือมโนราห์.

พอยกขาก็ลาโรง

หมายถึง(สำ) ก. ชักช้าทำให้เสียการ, พอก้าวขาก็ลาโรง ก็ว่า.

ท้องพระโรง

หมายถึงน. ห้องโถงใหญ่ในพระราชวังหรือในวังของพระราชโอรสพระราชธิดา.

เบิกโรง

หมายถึงก. แสดงก่อนดำเนินเรื่อง, แสดงออกโรงครั้งแรก.

เสือทลายห้าง ช้างทลายโรง

หมายถึง(สำ) น. คนที่แสดงกิริยาเอะอะตึงตัง.

โรง

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาคลุม ปรกติพื้นอยู่ติดกับดิน สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการ หรือไว้สิ่งของเป็นต้น เช่น โรงลิเก โรงทอผ้า โรงเหล้า โรงรถ โรงพิมพ์, ลักษณนามว่า โรง เช่น ลิเกโรงหนึ่ง โรงทอผ้า ๒ โรง.

ออกโรง

หมายถึงก. ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อได้ฝึกหัดมาแล้ว; แสดงด้วยตนเองเป็นครั้งคราว ในคำว่า ออกโรงเอง.

ม้าทลายโรง

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Neuropeltis racemosa Wall. ในวงศ์ Convolvulaceae ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ผลเล็ก มีปีกบางล้อมรอบเป็นแผ่นกลม.

กระโถนท้องพระโรง

หมายถึงน. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลาลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สำ) ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.

ฉะหน้าโรง

หมายถึงน. วิธีของเพลงทำนองหนึ่ง.

ชันโรง

หมายถึง[ชันนะ-] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้งธรรมดา รังทำจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ ขนาดหอยโข่งหรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่ง หรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ