คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ช

คำไวพจน์ หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ช

คำไวพจน์ หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ ชนะ = ชิต / รวด / พิชิต- / พิชิต / วิกรม / ลอยลำ / ขาดลอย / วิกรานต์ / ชย- / ชย / พิชัย / พิชย- / พิชย / ชโย / ชิต- / ชำนะ / วิชิต / อภิชิต / อภิชัย / เดโชชัย / ยาหยัง / ชัยชนะ / วิชัย / วิชย- / วิชย / เฉือน / ชัย- / ชัย / กินดิบ
  2. คำไวพจน์ ชรา = แก่ด้วยอายุ / ชำรุดทรุดโทรม / ปัจฉิมวัย / แก่ / เฒ่า / สูงวัย / หง่อม / เถ้า
  3. คำไวพจน์ ชีวิต = ความเป็นอยู่ / ลมหายใจ / ร่วมชีวิต / ไว้ชีวิต / วิถีชีวิต / ชีวัน / ชีวา / ชีวี / ความเป็น / เกิด
  4. คำไวพจน์ ชื่นชม = ชื่นชมยินดี / ปีติยินดี / ชัวชม / รื่นรมย์ / ชมชัว / หฤหรรษ์ / ดุษฎี / หื่นหรรษ์ / ลลิต / หฤษฎ์ / พิสมัย
  5. คำไวพจน์ ชื่อ = ชื่อรอง / ชื่อตัว / นาม / ชื่อย่อ / นามแฝง / สมญานาม / สมญา / นามกร / นามไธย / ชื่อตั้ง / ทินนาม / นามสมญา / สรรพนาม / ราชทินนาม
  6. คำไวพจน์ ช้าง = หัสดี / คชินทร์ / กรินทร์ / กุญชร / คชาธาร / ไอยรา / คช / หัตถี / สาร / กรี / คเชนทร์ / วารณ / ดำริ / หัสดินทร์ / คชา / พลาย

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ช"