ค้นเจอ 1,582 รายการ

ตกน้ำไม่ว่าย

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ช่วยตัวเอง.

ทวน

หมายถึงน. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดรูปพรรณ อีกข้างหนึ่งสำหรับยึดกับฐานที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อนั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลายคันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสำหรับรองตะคันอบนํ้าหอม.

ทวน

หมายถึงก. ฝ่ากระแสนํ้าหรือกระแสลม ในคำว่า ทวนนํ้า ทวนลม, เอาใบพายรานํ้าไว้เพื่อชะลอให้เรือหยุด; กลับมาตั้งต้นใหม่, กลับซํ้าใหม่, เช่น อ่านทวน ทวนเพลง; ย้อนทาง เช่น ทวนเข็มนาฬิกา ทวนแสง; เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทวนกระแสจิต ทวนกระแสโลก.

ว่าย

หมายถึงก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขา ครีบ หรือ หาง แหวกไปในนํ้าหรือในอากาศ.

เห

หมายถึงก. เบนไป เช่น เหหัวเรือ, เขว เช่น เขาเหไปเข้าข้างศัตรู, เฉ เช่น รถยนต์เหออกนอกทาง.

พายเรือทวนน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. ทำด้วยความยากลำบาก.

แหวกว่าย

หมายถึงก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไปในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.

สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.

ว่ายน้ำหาจระเข้

หมายถึง(สำ) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.

น้ำร้อนปลาเป็น

หมายถึง(สำ) น. คำพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัว แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.

ปล่อยปลาลงน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.

จับปลาสองมือ

หมายถึง(สำ) ก. หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่างพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ