ค้นเจอ 9 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา , นานาเนก, อานก,อานิก, พเนก

อเนก,อเนก-

หมายถึง[อะเหฺนก, อะเหฺนกกะ-] ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.).

อเนก เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

เอนก เป็นคำที่เขียนผิด ❌

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

นานาเนก

หมายถึงว. ต่าง ๆ กันมากมาย, ใช้ย่อว่า นาเนก ก็มี. (ป. นานา + อเนก).

อเนกรรถประโยค

หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.

กรัง

หมายถึง[กฺรัง] น. เนิน เช่น กึกก้องไพรกรัง. (อนิรุทธ์), อเนกทั่วไพรกรัง. (ดุษฎีสังเวย).

กักการุ

หมายถึง(แบบ) น. ดอกฟัก เช่น อิกกักการุดิเรกอเนกดิบุษปวัน อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก. (สมุทรโฆษ). (ป.).

นุ

หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

บทบูรณ์

หมายถึง[บดทะ-] น. คำที่ทำให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ