ค้นเจอ 464 รายการ

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

ละ

หมายถึงว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.

ลมาด

หมายถึง[ละ-] น. แมลงหวี่. (ข. มมาจ ว่า ตัวชีผ้าขาว).

เสล

หมายถึง[-ละ-] น. ภูเขา, หิน. ว. เต็มไปด้วยหิน. (ป.; ส. ไศล).

โกกิล,โกกิล-,โกกิลา

หมายถึง[-ละ-] น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป., ส.).

เขฬะ

หมายถึง[เข-ละ] น. นํ้าลาย, ราชาศัพท์ว่า พระเขฬะ. (ป.).

ลลาฏ

หมายถึง[ละ-] น. นลาฏ, หน้าผาก. (ป., ส.).

ลลิต

หมายถึง[ละ-] ว. น่ารัก, น่าเอ็นดู, น่าชื่นชม, สวย, งาม, ละมุนละม่อม. (ส.).

ลออ

หมายถึง[ละ-] ว. งาม เช่น นวลลออ เอี่ยมลออ. (ข.).

เสล-

หมายถึง[-ละ-] น. ภูเขา, หิน. ว. เต็มไปด้วยหิน. (ป.; ส. ไศล).

ลหุ

หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ