ค้นเจอ 33 รายการ

ธรรมเนียม

หมายถึง[ทำ-] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.

ธรรมเนียม เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ทำเนียม เป็นคำที่เขียนผิด ❌

วต,วต-,วตะ

หมายถึง[วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).

วิธาน

หมายถึงน. การจัดแจง, การทำ; กฎ, เกณฑ์, ข้อบังคับ; พิธี, ธรรมเนียม. (ป., ส.).

วัตร,วัตร-

หมายถึง[วัด, วัดตฺระ-] น. กิจพึงกระทำ เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).

สมาจาร

หมายถึง[สะมาจาน] น. ความประพฤติที่ดี, ธรรมเนียม, ประเพณี. (ป., ส.).

พรต

หมายถึง[พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจำศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภคอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บำเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บำเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).

ทำเนียม

หมายถึงว. เทียม. (โบ) น. ธรรมเนียม. (สามดวง). (แผลงมาจาก เทียม).

อาจาร,อาจาร-

หมายถึง[-จาน, -จาระ-] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).

วิธี

หมายถึงน. ทำนองหรือหนทางที่จะทำ เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอนคณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).

ระบอบ

หมายถึงน. แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำถูกระบอบ; ระเบียบการปกครอง เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์.

ฤต

หมายถึง[รึด] น. กฎ, วินัย, (เช่นในพระศาสนา); ธรรมเนียม, ความจริง, ความชอบธรรม. (ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ