ค้นเจอ 170 รายการ

ละครใน

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.

ละครรำ

หมายถึงน. ละครแบบเดิมของไทย ตัวละครแต่งเครื่องและแสดงบทบาทโดยวิธีร่ายรำไปตามเพลงที่ต้นเสียงและลูกคู่ขับร้อง ใช้ดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แบ่งออกเป็น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน.

ละคร

หมายถึง[-คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.

ละครแก้บน

หมายถึงน. ละครชาตรีตอนสั้น ๆ ที่จัดแสดงแก้บน.

ละครชวนหัว

หมายถึงน. ละครพูดประเภทขำขัน.

ละครย่อย

หมายถึงน. ละครชวนหัวเรื่องสั้น ๆ.

ละครลิง

หมายถึงน. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.

ละครพันทาง

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.

ละครเล็ก

หมายถึงน. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็กเรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.

ละครสัตว์

หมายถึงน. การแสดงของสัตว์ต่าง ๆ ที่ฝึกไว้ดีแล้ว โดยมีการแสดงของคณะกายกรรมประกอบด้วย.

ตัวละคร

หมายถึง(วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ.

ละครดึกดำบรรพ์

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ