ค้นเจอ 46 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สดคาว, ขจี, สด, แวง, สิบ, หญิบ, อสิ, อุบ, พระแสงดาบ

ดิบ

หมายถึงว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียกสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้สำเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ; โดยปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ, เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ.

สดคาว

หมายถึงว. ดิบ ๆ และยังมีคาวอย่างปลาสดหรือเนื้อสด เช่น เขาชอบกินอาหารสดคาว, อาหารที่แสลงแก่โรค เช่น เป็นโรคริดสีดวงห้ามกินของสดคาว.

สุก ๆ ดิบ ๆ

หมายถึงว. ยังไม่สุกทั่วกัน เช่น หุงข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ.

ขจี

หมายถึง[ขะ-] ว. งามสดใส, ใช้ในคำว่า เขียวขจี. (ข. ขฺจี ว่า ดิบ, อ่อน).

ดิบดี

หมายถึง[ดิบ-] ว. ดี, เรียบร้อย, เช่น เก็บไว้ดิบดี, บางทีใช้แยกกัน หมายความว่า ดี เช่น ได้ดิบได้ดี.

สด

หมายถึงว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยังไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.

ได้ดิบได้ดี

หมายถึง(สำ) ได้ดี.

คนดิบ

หมายถึงน. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.

พอดิบพอดี

หมายถึงว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคาของพอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.

เหมาะเจาะ

หมายถึงว. พอดี, พอดิบพอดี.

เหมาะเหม็ง

หมายถึง(ปาก) ว. พอดิบพอดี.

ฟอกหนัง

หมายถึงก. เอาหนังดิบมาแช่นํ้าแล้วหมักไว้เพื่อทำเป็นหนังฟอก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ