ค้นเจอ 58 รายการ

กรณี

หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทำ).

แปรผัน

หมายถึงก. เปลี่ยนแปลงไป, กลับกลายไป, ผันแปร ก็ว่า; (คณิต) เพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน มี ๒ กรณี คือ แปรผันโดยตรง และ แปรผันแบบผกผัน.

กรณียกิจ

หมายถึงน. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทำ.

พระราชกรณียกิจ

หมายถึงกิจอันพึงกระทำของพระเจ้าแผ่นดิน

ราชกรณียกิจ

หมายถึงน. หน้าที่ที่พระราชาพึงกระทำ ใช้ว่า พระราชกรณียกิจ.

อำลา

หมายถึงก. ลาจากไป (มักใช้ในกรณีพิเศษ).

คู่พิพาท

หมายถึง(กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน.

ใบประจำต่อ

หมายถึง(กฎ) น. กระดาษแผ่นหนึ่งที่ผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงิน ในกรณีที่ไม่มีที่ในตั๋วเงินที่จะสลักหลังได้ต่อไป ใบประจำต่อถือเป็นส่วนหนึ่งของตั๋วเงินนั้น.

เบี้ยเลี้ยง

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่จ่ายให้เป็นค่าอาหารประจำวัน ในกรณีที่ออกทำงานนอกสถานที่ตั้งประจำ.

ลูกบ้าน

หมายถึงน. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบันได้แก่ กำนันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี.

เหมาะสม

หมายถึงว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.

เบะ

หมายถึงว. ทำหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคำ เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ